สำนักราชบัณฑิตยสภา
นววรรณ พันธุเมธา 557 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ประเทศบางค� ำเป็นเสียงควบกล�้ ำ ทฺร เช่น ทรัมเป็ต จันทรา นิทรา อินทราทิตย์ แต่ ออกเสียงอักษรควบ ทร ในค� ำยืมจาก ภาษาต่างประเทศบางค� ำเป็นเสียง ซ เช่น ทรัพย์ พุทรา อินทรี นี่ท� ำให้เกิดค� ำถามว่า ท� ำไมออก เสียงอักษรควบ ทร เป็น ๒ แบบ อันที่จริง ไทยน่าจะเคยออกเสียง ค� ำที่เขียน ทร เป็น ซ ทั้งหมด เพิ่งจะเริ่ม ออกเสียง ทร ในค� ำบางค� ำเป็นเสียงควบ กล�้ ำในสมัยรัตนโกสินทร์ หลักฐานที่แสดงว่า ไทยเคยออก เสียง ทร ในค� ำทุกค� ำเป็นซ ได้แก่แบบเรียน หนังสือไทยเล่มต่าง ๆ เช่น ในประถม ก กา ก� ำหนดไว้ชัดเจนว่า แม่ ทร นั้น อ่านส� ำเนียงเหมือน อักษรตัว ซ ทร ทรา ทริ ทรี ทรึ ทรื ทรุ ทรู เทร... (ศิลปากร, ๒๕๑๓ : ๕๕) ใน ปกีระณ� ำพจนาตถ์ พระยาศรี สุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) กล่าว ถึงค� ำที่เขียน ทร ออกเสียง ซ ว่า หนึ่งค� ำใช้ทอรอแทนซอนั้น มีส� ำคัญควรพิเคราะห์ได้เสาะสาว คือนิทราอินทราจันทราดาว อีกค� ำกล่าวอินทรีมีไม้ไทร ทรงทรางทรวงแทรกจ� ำแนกบท โดยก� ำหนดทรุดทรัพย์ล� ำดับได้ ทราบอีกโทรมทรามทรายรายกันไป ทอรอใช้ต่างซอข้อคดี (ศรีสุนทรโวหาร, ๒๕๑๔ : ๗๔๓) ๔ พระยาอุปกิตศิลปสารเขียนไว้ว่า อนึ่งค� ำตัว ท ควบ ร ที่มาจากบาลีและสันสกฤตควรเป็นเสียงควบแท้ เช่น นิทรา, อินทรีย์, จันทร, อินทรา (ถ้าเขียน จันทร, อินทร อ่าน จัน-ทอน, อิน-ทอน ก็ได้) ฯลฯ, ถ้าเป็นค� ำไทยต้องเป็นเสียง ซ เช่น ทราบ (ซาบ), ทรง (ซง), ทราม (ซาม) ฯลฯ (อุปกิตศิลปสาร, ๒๕๑๑ : ๕๓) ปัจจุบัน ค� ำว่า อินทรีย์ อ่าน อิน-ซี บทกลอนยังมีต่อไปอีกยาว มีค� ำที่ ใช้ ทร แทน ซ อีกมาก เช่น ทรง ทราง แทรก ทรุด น่าสังเกตว่าค� ำ นิทรา อินทรา จันทรา ซึ่งปัจจุบันออกเสียงควบกล�้ ำ พระยาศรีสุนทรโวหารกล่าวว่า ออกเสียง ซ แต่ถ้าดูพจนานุกรมที่ท� ำในระยะเวลา ไล่เลี่ยกันนั้น จะรู้สึกสับสน สัพะ พะจะนะ พาสาไท ของชอง-บาตีสต์ ปาเลอกัวซึ่ง พิมพ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๗ มีค� ำว่า อินทะรา บอกเสียงอ่านไว้ว่า ǏNTHA:RA ค� ำนิดทรา บอกเสียงอ่านไว้ว่า NǏTTHRA และค� ำ จันตรา บอกเสียงอ่านไว้ว่า CH Ǎ NTRA ศริพจน์ภาษาไทย์ ซึ่งพิมพ์เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๙ ก็มีค� ำ อินทรา บอก เสียงอ่านว่า ǏNTHǍRA นิทรา บอกเสียง อ่านว่า NǏTTHRA และจันทรา บอกเสียง อ่านว่า CH Ǎ NTHRA ถ้าเชื่อพจนานุกรมทั้ง ๒ เล่ม ก็ คงต้องถือว่าในสมัยที่ท� ำพจนานุกรมคือ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๗-๒๔๓๙ ค� ำ นิทรา และจันทรา ออกเสียงควบกล�้ ำ ส่วนค� ำ อินทรา ออกเสียงเรียงพยางค์ นี่แสดงว่าเพิ่งจะมีการออกเสียง ทร ในค� ำบางค� ำเป็นเสียงควบกล�้ ำในสมัย รัตนโกสินทร์นี่เอง แต่เดิมเสียงควบกล�้ ำ ทฺร ไม่มีในภาษาไทย ๔ ค� ำที่แยกเขียนเป็น ๒ แบบคือ เขียนอย่าง อักษรควบ และไม่ใช่อักษรควบ ค� ำที่จะกล่าวถึงคือ ทราบ กับ ซาบ ทราบ พยัญชนะต้นเป็น ทร ซึ่งเป็น อักษรควบไม่แท้ ค� ำนี้หมายถึง รู้ ซาบ พยัญชนะต้นเป็น ซ ซึ่งเป็นอักษรเดี่ยว ไม่ใช่อักษรควบ ค� ำนี้หมายถึง ซึมแผ่ไป ทราบ กับ ซาบ ดูเหมือนว่าจะเป็น ค� ำ ๒ ค� ำที่พ้องเสียงกัน แม้จะออกเสียง เหมือนกัน แต่ก็มีความหมายต่างกัน ทั้งยัง เขียนต่างกันอีกด้วย แต่ถ้าพิจารณาถึงที่มา ของค� ำ ทั้งค� ำว่า ทราบ และ ซาบ อาจมา จากค� ำเขมรค� ำเดียวกันคือ ชฺราบ (เจฺรียบ) ซึ่งมีความหมาย ๒ อย่างคือ ๑ ซึมซาบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=