สำนักราชบัณฑิตยสภา
เรื่องยุ่ง ๆ เกี่ยวกับอักษรควบ The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 556 ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา เคยเล่าว่า ชาวนครศรีธรรมราช บางคนมักออกเสียง ตฺร เป็น ซ เช่น ชาตรี ออกเสียง ชาซี ชาวสงขลาที่ออกเสียง ตฺร เป็น ซ ก็มี เช่น ไม้ตรี ออกเสียงเป็น ไม้ซี ค� ำบอกเล่านี้ชวนให้สันนิษฐานว่า ไทยคงรับค� ำเขมรที่ออกเสียง ตฺร มาออก เสียง ซ ค� ำที่ออกเสียง โตฺรม จึงกลายเป็น โซม ตฺร็วง กลายเป็น ซง ส่วนรูปเขียน ไทยมิได้เปลี่ยน ยังใช้ ทร ตามแบบเขมร ๒. ค� ำที่มีอักษรควบไม่แท้เป็นค� ำ ที่มีการเปลี่ยนแปลงเสียง เมื่อก่อนออก เพชรเสมอ (บรรจบ พันธุเมธา , ๒๕๒๙ : ๒๒-๒๓) ค� ำที่เขียนอย่างอักษรควบ แต่ไม่น่าจะ เป็นอักษรควบ ค� ำที่จะกล่าวถึงแยกได้เป็น ๒ พวก พวกหนึ่ง น่าจะเป็นค� ำยืม อีกพวกหนึ่งน่า จะเป็นค� ำไทยเอง ๑) ค� ำที่น่าจะเป็นค� ำยืม จะกล่าวถึง๒ค� ำคือสรวมกับสร้าง ค� ำ ๒ ค� ำนี้ไทยอาจยืมจากภาษาเขมร แต่ ภาษาเขมรไม่มี ร ควบ เสียงต่างกับปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ค� ำ สร้อย ปัจจุบันออกเสียง ส้อย แต่เมื่อก่อนตัว ร อาจออกเสียงด้วยก็ได้ ดังที่ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา เขียนไว้ใน บทความชื่อ “จริงท� ำไมจึงมี ร” ว่า ที่น่าสนใจมากก็คือค� ำ สร้อย ที่ออก เสียงกันตามลุ่มน�้ ำเมาว่า จ้ะหร่อย หรือ ซะหร่อย อธิบายว่าเป็น สร้อยระย้า ประดับศอเจ้านางเมืองมหาเทวี มีลักษณะ เป็นสร้อยหลายสาย ยาวบ้าง สั้นบ้าง รวบ เข้าไว้ด้วยกัน และคงจะประดับเพชรด้วย จึงมักมากับค� ำว่าส้อยแสง ที่แปลว่า สร้อย ค� ำเขมร สูม (โซม) (ข. โบ โสม, สฺวม) ค� ำไทย สรวม ค� ำเขมร สาง (ซาง) (ข. โบ สง, สาง) ค� ำไทย สร้าง อย่างไรก็ตาม ในภาษามอญมีค� ำว่า สรงฺ (สะรัง) หมายถึง การกระท� ำ มีผู้ สันนิษฐานว่า เป็นที่มาของค� ำว่า สร้าง ใน ภาษาไทย ถ้าไทยยืมค� ำว่า สร้าง จากค� ำ สรงฺ ก็พอจะมีเหตุผลว่าท� ำไมมี ร ในค� ำว่า สร้าง ๒) ค� ำที่น่าจะเป็นค� ำไทย จะกล่าวถึง ๓ ค� ำคือ สร่าง เศร้า ทราย ทั้ง ๓ ค� ำพบในภาษาไท ๓ ด้วย ภาษาไทเท่าที่พบ ไม่ได้ออกเสียง ร สร่าง หมายถึง คลาย ทุเลา เช่น สร่างไข้ สร่างโศก สร่างเมา ภาษาไท ขาวมีค� ำ ซ้างหมายถึง ทุเลา เช่น ซ้าง ไตฺส หมายถึง สร่างไข้ ซ้างเหลา หมาย ถึง สร่างเหล้า เศร้า หมายถึง หมอง ไม่ผ่องใส สลดหดหู่ เช่น หน้าเศร้า เศร้าใจ ภาษา ไทขาวมีค� ำ เสา หมายถึง จาง เลือน เช่น ฮุ้นเสา หมายถึง รูปที่สีซีดเลือน หนาเสา หมายถึง หน้าเศร้า ภาษาไทพ่าเก่ มีค� ำ เส่า หมายถึง มัว ครึ้ม เช่น พ่าเส่า หมายถึง ฟ้าครึ้ม อาจเป็นได้ว่า สร่าง และ เศร้า ไม่ ได้ออกเสียง ร มาแต่เดิม ทั้ง ๒ ค� ำจึงไม่ น่าจะเขียนอย่างอักษรควบ ส่วนค� ำว่า ทราย ในภาษาไทย มี ๒ ความหมาย ความหมายหนึ่งคือชื่อสัตว์ป่า ประเภทกวาง อีกความหมายหนึ่งคือ เศษ หินขนาดเล็ก มีลักษณะซุยร่วนไม่เกาะกัน ทราย ที่เป็นชื่อสัตว์ เขียนอย่าง อักษรควบ ก็ถูกแล้ว เพราะน่าจะยืมจาก ค� ำเขมร ทฺราย (เตฺรียย) ซึ่งหมายถึงเนื้อ ทราย แต่ ทราย ที่หมายถึงเศษหินขนาด เล็กน่าจะใช้ ซ เป็นพยัญชนะต้น เพราะค� ำ นี้เป็นค� ำไทยเราเอง ภาษาไทหลายภาษาก็ มีค� ำที่ออกเสียงคล้ายค� ำนี้ เช่น ภาษาไทขาว ซาย ภาษาไทพ่าเก่ ซ้าย ภาษาไทเหนือ ซ้าย ค� ำที่ปัจจุบันออกเสียงควบกล�้ ำ แต่น่าจะ เคยออกเสียงไม่ควบกล�้ ำ ค� ำที่จะกล่าวถึงคือ ค� ำที่ออกเสียง ควบกล�้ ำ ทฺร ปัจจุบันคนไทยออกเสียง อักษรควบ ทร ในค� ำยืมจากภาษาต่าง ๓ ภาษาไท หมายถึงภาษาในตระกูลไทที่พูดนอกประเทศไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=