สำนักราชบัณฑิตยสภา
ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ 551 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ชาวจีนฮกเกี้ยนมักตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมกันเป็นชุมชนฮกเกี้ยน สร้างบ้าน ชั้นเดียวที่เรียกกันว่า “บ้านตึกดิน” ๔ เหมือนบ้านที่เคยอยู่อาศัยที่เมืองจีน เมื่อ ชุมชนใหญ่ขึ้นก็มีการสร้างศาลเจ้า เพื่อใช้ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นที่ พบปะกัน ชาวจีนฮกเกี้ยนเมื่อแรกอพยพ มาส่วนใหญ่จะยากจน ต้องมาขายแรงงาน เป็นกุลีเหมือง หรือเป็นลูกจ้าง ท� ำการค้า ที่ไม่ต้องใช้ทุนรอนมาก เช่น จับปลาขาย เผาถ่านขาย ท� ำสวนผลไม้หรือสวนยาง ด้วยความที่เป็นคนขยัน อดทน อุตสาหะ และเข้าใจหาช่องทางท� ำมาหากินด้วย การน� ำเข้าสินค้าจากปีนังมาขายที่ฝั่งไทย ซึ่งเป็นการค้าขายที่ท� ำรายได้ค่อนข้างดี จึงค่อย ๆ เก็บหอมรอมริบจนตั้งตัวได้ เป็นเจ้าของกิจการการค้า เจ้าของโรงงาน เจ้าของเหมือง ลูกหลานของชาวฮกเกี้ยน อพยพรุ่นแรกนี้ ที่เกิดในแผ่นดินไทย และเป็นฮกเกี้ยนบ่าบ่า ๕ ปัจจุบันยังคงท� ำ กิจการค้าเป็นส่วนใหญ่ เช่นกิจการสวน ยางพารา และการประมง ธุรกิจการท่อง เที่ยว การโรงแรม ร้านอาหาร และร้าน ขายใบชา (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๓๓- ๒๓๔) มณฑลฮกเกี้ยนเป็นมณฑลที่มีชื่อ เสียงเรื่องชา โดยเฉพาะชากวนอิมเหล็ก ( 铁观音 Ti ě gu ā ny ī n) ซึ่งเป็นชาอูหลง ( 乌龙 W ū l ó ó ng) ชนิดหนึ่ง ๔ บ้านตึกดินสร้างด้วยดินที่ผสมกับวัสดุซึ่งท� ำให้ดินยึดตัว แล้วน� ำมากระทุ้งให้เรียบเพื่อท� ำเป็นพื้นเรือนและฝาผนังบ้าน และใช้กระเบื้องดินเผามุงเป็นหลังคา (วิลาสวงศ์ พงศะบุตร และประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ๒๕๔๘ : ๒๓๓) ๕ ชาวจีนฮกเกี้ยนเรียกรุ่นลูกรุ่นหลานซึ่งเกิดต่างแดนว่า ฮกเกี้ยนบ่าบ่า ไม่ว่าจะถือก� ำเนิดจากพ่อแม่ที่เป็นชาวฮกเกี้ยน หรือจากพ่อชาวฮกเกี้ยนที่แต่งกับหญิงไทย (วิลาสวงศ์ พงศะบุตร และประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ๒๕๔๘ : ๒๓๔) บรรณานุกรม ประพิณ มโนมัยวิบูลย์. ๒๕๑๐. สามก๊ก: การศึกษาเปรียบเทียบ. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ปราณี กายอรุณสุทธิ์. ๒๕๒๖. ค� ำยืมภาษา จีนในภาษาไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. มัลลิกา เรืองระพี. ๒๕๑๘. บทบาทของ ชาวจีนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และ ศิลปกรรมไทย สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง. ๒๕๔๓. จากอาส� ำ ถึงหย� ำฉ่า : ต� ำนานคนกวางตุ้งสยาม. กรุงเทพฯ : ร้านนายอินทร์. วรศักดิ์ มหัทธโนบล. ๒๕๔๖.คือ “ฮากกา” คือ “จีนแคะ”. กรุงเทพฯ : มติชน. วิลาสวงศ์ พงศะบุตร และประพิณ มโนมัย วิบูลย์. ๒๕๔๘. บรรณาธิการ. จาก ฮวงโหสู่เจ้าพระยา. กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จ� ำกัด (มหาชน). สถาบันเอเชียศึกษา. ๒๕๓๔. ชาวจีนแต้จิ๋ว ในประเทศไทยและในภูมิล� ำเนาเดิม ที่เฉาซัน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Area Hand book for Thailand. Washington D.C.: US Government Printing Offfi ifi ce, 1968. Skinner, G. William. 1957. Chinese Society in Thailand: an Analytical History. Ithaca, New York: Cornell University Press. Skinner, G. William. 1958. Leadership and Power in the Chinese Community of Thailand. Ithaca, New York: Cornell University Press.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=