สำนักราชบัณฑิตยสภา

ชุมชนจีนในประเทศไทย : หลากหลายส� ำเนียงจีน The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 550 เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ ได้เป็น ขุนนางผู้ใหญ่ เช่น จีนเหยียง (ต้นตระกูล ณ สงขลา) ได้ยศต� ำแหน่งเป็นหลวง สุวรรณคีรีสมบัติ ผู้ว่าราชการสงขลา ในสมัยธนบุรี บุตรชาย (บุญหุ้ย) ได้ยศ ต� ำแหน่งเป็นเจ้าพระยาอินทคิรีศรีสมุทร สงครามฯ ในสมัยรัชกาลที่๑ และลูกหลาน หลายคนของจีนเหยียงได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้ส� ำเร็จราชการเมืองสงขลาสืบต่อมา ชาวจีนฮกเกี้ยนที่ช่วยงานราชการจนได้ ยศต� ำแหน่งอีกผู้หนึ่งคือ หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง 许泗漳 Xu Sìzhāng ซึ่ง เป็นต้นตระกูล ณ ระนอง) ในรัชกาลที่ ๓ และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการจนใน สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับยศเป็นพระยาด� ำรง สุจริตมหิศรภักดี นอกจากนี้ลูกอีกหลาย คนก็ได้ยศต� ำแหน่งเป็นพระยา ผู้ส� ำเร็จ ราชการเมืองระนอง หลังสวน ตรัง ชุมพร และมณฑลภูเก็ต (มัลลิกา ๒๕๑๘ : ๒๑๗-๒๑๘) ๓ เมื่อตลาดโลกมีความต้องการดีบุก อย่างมาก เพราะมีการค้นพบว่าเหล็กเมื่อ เคลือบดีบุกแล้วสามารถป้องกันสนิมได้ จึงมีชาวจีนฮกเกี้ยนพากันอพยพจากปีนัง เข้ ามาที่ภาคใต้ ของไทยซึ่งอุดมด้ วย แร่ดีบุก โดยผู้ที่มีฐานะก็มาเป็นนาย เหมืองท� ำเหมืองดีบุก ผู้ที่ไม่มีเงินทองก็มา ท� ำงานเป็นกุลีเหมืองแร่ มีการชักชวนชาว จีนฮกเกี้ยนด้วยกันเข้ามาเป็นกุลีเหมือง จนมีการอพยพเข้ามาเป็นจ� ำนวนมาก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้ าอยู่ หัวและพระบาทสมเด็จพระ- จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลายคนได้ไต่เต้าจน ได้ เป็นนายอากรสินค้า และเจ้าเมือง (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๓๒) Teochiu, Hakka, and Hokkien emigrant areas (Skinner 1957: 36) ๓ จากการศึกษาส� ำเนียงภาษาจีนของชื่อบุคคลและชื่อสถานที่ใน สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) พบว่าชื่อทุกชื่อออกเสียงตามภาษาถิ่นฮกเกี้ยน ส� ำเนียง เอ้หมึง (ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ๒๕๑๐) ทัั้งนี้ คงเป็นเพราะชาวจีนฮกเกี้ยนเป็นกลุ่มที่รับราชการต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังที่กล่าวข้างต้น (วิลาสวงศ์ พงศะบุตร และประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ๒๕๔๘ : ๒๓๓)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=