สำนักราชบัณฑิตยสภา

ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ 549 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ การประกอบอาชีพด้านอาหาร จึงเป็นอาชีพหลักอีกอาชีพหนึ่งของชาว จีนกวางตุ้ง และหลายคนกลายเป็นคน มีฐานะจนเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร และภัตตาคารซึ่งได้รับความนิยมจากชาว กรุงเทพฯ เช่น อาหารกวางตุ้งประเภท ติ่มซ� ำ โจ๊ก บะหมี่กวางตุ้ง และน� ำเครื่อง ปรุงใหม่ ๆ เข้ามา ท� ำให้คนไทยรู้จักซีอิ๊ว ขาว เต้าเจี้ยว และน�้ ำมันหอย โรงงานซีอิ๊ว ขาวที่ตั้งขึ้นแห่งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ ที่ แถวสะพานขาว ซึ่งยังเป็นแถบชานกรุง ในสมัยนั้น ก็เป็นของชาวจีนกวางตุ้ง (ยุวดี ๒๕๔๓ : ๘๘-๙๐) ชาวจีนอพยพที่เข้ามาที่เมืองไทย หากคิดอัตราร้อยละในกลุ่มของตนแล้ว หญิงชาวกวางตุ้งมีจ� ำนวนมากกว่ากลุ่ม ส� ำเนียงภาษาอื่น คือ ประมาณร้อยละ ๒๐ ของจ� ำนวนชายชาวกวางตุ้ง โดย เดินทางเข้ามาค่อนข้างมากในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อการคมนาคมและสาธารณูปโภคขยาย ตัวอย่างมาก จนต้องมีการน� ำเข้าแรงงาน กุลีชาวจีนมาท� ำงานด้านการขุดคูคลอง สร้างถนน ทางรถไฟ และอาคารบ้านเรือน เนื่องจากแรงงานทั้งหมดเป็นชายและ ชาวจีนอพยพประมาณร้อยละ ๙๐ ก็ เป็ นชาย (ดังปรากฏในการส� ำรวจ ส� ำมะโนครัว พ.ศ. ๒๔๕๒ สมัยรัชกาล ที่ ๕ ในตารางหน้า ๒๓) จึงมีการน� ำหญิง ชาวกวางตุ้งเข้ามาค้าประเวณี ๒ ในโรงน�้ ำ ชาบริเวณตรอกข้างโรงภาพยนตร์โอเดียน และโรงพยาบาลเทียนฟ้าปัจจุบันไปจนถึง วัดเกาะหรือวัดสัมพันธวงศ์ เวลาแขกมา ใช้บริการ ก็จะชงน�้ ำชาไว้บริการพร้อม ขนม ดังนั้นจึงเรียกหญิงเหล่านี้ว่า “ผู้หญิง หย� ำฉ่า 饮茶女 yǐnchá nǚ ” (ยุวดี ๒๕๔๓ : ๑๓๓-๑๓๔) หญิงชาวกวางตุ้งบางส่วนอพยพ เข้ามาท� ำงานรับจ้างเป็นลูกมือช่วยงาน บ้านในบ้านของนักธุรกิจโพ้นทะเล ซึ่ง เป็นที่นิยมและผูกขาดอยู่ในวงหญิงชาว กวางตุ้งที่เรียกอาชีพนี้ว่า “อาส� ำ 阿三 ā sān ” ซึ่งหมายถึงอาชีพแม่บ้าน อาส� ำที่ ช� ำนาญงานต้องดูแลความเรียบร้อยและ การท� ำงานของคนรับใช้ทั้งหมดในบ้าน ของผู้เป็นนาย ที่ส� ำคัญคือต้องมีฝีมือการ ปรุงอาหาร เพราะอาหารประจ� ำวันและ งานเลี้ยงต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในบ้านล้วนอยู่ ในความรับผิดชอบของอาส� ำ อย่างไร ก็ตามหลังจากผู้อพยพรุ่นแรก ๆ แล้ว ก็ไม่ เป็นอาชีพที่นิยมของหญิงชาวกวางตุ้งอีก นอกจากนี้อาชีพที่หญิงชาวกวางตุ้งมักท� ำ เป็นงานส่วนตัวโดยอาศัยฝีมือเฉพาะตน ก็มีงานชุนผ้า งานสอยชายผ้ากางเกงแพร และการดึงหน้าด้วยเชือก (ยุวดี ๒๕๔๓ : ๖๐-๖๑) ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนฮกเกี้ยน ซึ่งเรียกตนเองว่า ฮกเกี้ยนหลัง ( 福建人 Fújiàn rén ) อยู่ ในมณฑลติดทะเลแถบตะวันออก เฉียงใต้ของจีน จึงมีความช� ำนาญใน การเดินเรือ และได้ เดินเรือมาค้าขาย ตั้งแต่สมัยอยุธยา จดหมายเหตุวัน วลิต (Van Vliet) ระบุว่า พ่อค้าส� ำเภาจีน กลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาค้าขายที่สยามนั้น มาจากเมืองท่าใหญ่ของมณฑลฮกเกี้ยน คือ เอ้หมึง ( 厦门 Xiàmén ) ชาวจีน ที่ตั้งถิ่นฐานที่กรุงศรีอยุธยามักตั้งบ้าน เรือนที่ย่านในไก่ ย่านป้อมเพชร และ แพหน้ าวัดพนัญเชิง ประกอบอาชีพ เป็นพ่อค้า ช่างฝีมือ เกษตรกรเลี้ยงหมู นักแสดงงิ้ว แพทย์จีน และรับราชการ (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๗๑) มีหลักฐานว่ าชาวจีนฮกเกี้ยน เดินทางมาเมืองไทยด้วยเรือส� ำเภาที่หัว เรือเป็นสีเขียว หรือ แชเถ่ าจุ๊ ง โดย ออกเดินทางจากท่าเรือเอ้หมึงที่มณฑล ฮกเกี้ยนแล่นผ่านทะเลจีนใต้เข้าสู่อ่าวไทย บางส่วนขึ้นฝั่งที่หัวเมืองชายทะเลแถบ ตะวันออกของไทยและตั้งถิ่นฐานที่ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทราและ แถบลุ่มน�้ ำเจ้าพระยา บางส่วนเดินเรือ ต่อไปทางใต้เลียบชายฝั่งทะเลตะวันออก และคาบสมุทรมลายู ดังนั้นจึงมีชาวจีน ฮกเกี้ยนตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ระนอง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลาและ ปัตตานี (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๓๒) ในสมัยธนบุรี ชาวจีนฮกเกี้ยน บางส่วนที่จันทบุรีได้ย้ายถิ่นฐานมาที่ กรุงธนบุรี เพราะติดตามสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชมาสร้างกรุงธนบุรี หลัง จากที่ได้ช่วยพระองค์ในการสู้รบกับพม่า (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๓๒) และได้มีชาว จีนฮกเกี้ยนเข้ารับราชการเป็นจ� ำนวนไม่ น้อยเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา จนมีความ ๒ เนื่องจากมณฑลกวางตุ้งเป็นมณฑลที่มีเมืองท่าส� ำคัญ จึงมีสถานเริงรมย์อยู่ทั่วไป และเมื่อจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นอีกเป็นครั้งที่ ๒ จนต้องลงนามในสนธิ สัญญาเทียนสินใน พ.ศ. ๒๔๐๑ ทีี่่ท� ำให้รัฐบาลจีนต้องยอมเปิดซัวเถาเป็นเมืองท่าเสรี และต้องยอมให้พลเมืองโดยเฉพาะชายฉกรรจ์จีน เดินทางออกไปรับจ้างเป็น แรงงานนอกประเทศที่ขาดแคลนแรงงานในอาณานิคมของชาติตะวันตก สภาพสังคมจีนจึงเปลี่ยนไปจากเดิม หญิงชาวกวางตุ้งที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด จึงต้อง หันมาขายบริการ (ยุวดี ตันสกุลรุ่งเรือง ๒๕๔๓ : ๑๒๖-๑๒๗)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=