สำนักราชบัณฑิตยสภา
ชุมชนจีนในประเทศไทย : หลากหลายส� ำเนียงจีน The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 548 ชาวจีนกวางตุ้ง ชาวจีนกลุ่มแรก ๆ ที่เดินทางมา เมืองไทยคือ ชาวจีนฮกเกี้ยน ( 福建 Fújiàn ) และชาวจีนกวางตุ้ง ( 广东 Guangdōng ) โดยเดินทางมาค้าขายตั้งแต่ สมัยอยุธยา เพราะทั้งมณฑลกวางตุ้งและ ฮกเกี้ยนเป็นมณฑลที่ติดทะเลจีนใต้ จึง ช� ำนาญการเดินเรือและเดินเรือออกนอก ประเทศได้สะดวก เส้นทางเรือที่ชาวจีน กวางตุ้งเดินทางมาเมืองไทยนั้นเป็นเส้น ทางเดียวกับชาวจีนแต้จิ๋ว และมาขึ้นบก ตามหัวเมืองใหญ่และเมืองในภาคกลาง ชาวจีนกวางตุ้งในสมัยแรกที่มาค้าขายได้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในตัวเมืองอยุธยา และตาม เมืองในภาคกลางตามชายฝั่งทะเลอ่าว ไทย ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้ง ที่ ๑ และครั้งที่ ๒ เมื่อพรรคก๊กมินตั๋ง พ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ ชาวจีนกวางตุ้งก็ อพยพมาเมืองไทยเป็นระลอกใหญ่ (ยุวดี ๒๕๔๓ : ๓๓) ชาวจีนกวางตุ้งเมื่อแรกอพยพมา เมืองไทยมักประกอบอาชีพที่ตนถนัด ตามที่เคยท� ำเมื่ออยู่เมืองจีน ประเภทงาน ช่างหรืองานฝีมือ โดยเฉพาะด้านการท� ำ อาหาร ในระยะแรกชาวจีนกวางตุ้งจึงมัก ประกอบอาชีพการท� ำอาหาร และงานช่าง กลึงซึ่งเป็นงานฝีมือที่ท� ำครั้งที่อยู่กวางตุ้ง ซึ่งเป็นเมืองท่าส� ำคัญของจีนทางใต้ที่มี อู่เรือและมีการสร้างซ่อมเรือ เช่น การ ประกอบเรือ บ� ำรุงรักษาและซ่อมแซม เรือ ชาวจีนกวางตุ้งจึงช� ำนาญงานช่างกลึง ตั้งแต่งานด้านหล่อโลหะ งานเชื่อมโลหะ งานประกอบและขึ้นรูป ชาวจีนกวางตุ้ง ที่ถนัดงานกลึงมักเป็นแรงงานรับจ้าง ตามอู่ เรือของฝรั่งที่เข้ ามาเปิดกิจการ อู่ เรือริมแม่ น�้ ำ เจ้ าพระยาตามถนน เจริญกรุงในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ดังนั้น ชาวจีนกวางตุ้งจึงมักตั้งบ้านเรือนแถว ถนนสาทร บางรัก ตรอกซุง ตรอกไก่ ต่อมาเมื่องานอู่เรือลดน้อยลง ชาวจีน กวางตุ้งก็ใช้ฝีมือช่างกลึงไปรับงานกลึง จากโรงงานอุตสาหกรรมและโรงสีที่ต้อง ใช้เครื่องจักรกล หลายคนใช้ความช� ำนาญ งานกลึงจนประสบความส� ำเร็จมีโรงกลึง เป็นของตนเอง และมีชาวจีนกวางตุ้งด้วย กันประกอบอาชีพช่างกลึงตาม จนเป็น อาชีพเฉพาะในกลุ่มชาวจีนกวางตุ้ง (ยุวดี ๒๕๔๓ : ๖๓-๖๕) ชาวจีนกวางตุ้งเป็นคนที่ถนัดด้าน ช่าง งานฝีมือ และน� ำความสันทัดทั้ง ๒ ด้านนี้มาใช้ในการปรุงอาหาร จนเป็น ที่ยอมรับว่าอาหารกวางตุ้งนั้นเป็นเลิศ เรื่องรสชาติ ดังค� ำกล่าวในหมู่ชาวจีนว่า “อาหารการกินต้องที่กวางโจว ที่อยู่ อาศัยต้องที่หังโจว หากจะมีเมียต้องที่ ซูโจว เมื่อจะตายต้องไปหลิ่วโจว” ( 食 在广州 , 居在杭州 , 娶在 苏州 , 死在柳州 ) Cantonese emigrant area. The native places of practically all overseas Cantonese are in the delta area enclosed by the dashed line (Skinner 1957: 34)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=