สำนักราชบัณฑิตยสภา
ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ 547 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ เฉพาะสมาคมวุ้ยบ่วนเต้จะช่วยเหลือตั้งแต่ การหาที่พ� ำนัก การเรียนรู้อาชีพ และ หางานให้ท� ำในลักษณะระบบอุปถัมภ์ สมาคมทั้งสองนี้ได้รวมเข้าด้วยกันเป็น สมาคมไหหน� ำแห่งประเทศไทย ( 泰国 海南会馆 Tà à igu ó ó H a in á á n Hu ì ì gu a n) หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๔๐) ชาวจีนไหหล� ำที่มีความถนัดเรื่อง ท� ำอาหารได้ท� ำอาหารไหหล� ำขายจนเป็น ที่รู้จักทั่วไป อาหารไหหล� ำซึ่งเป็นที่นิยม กันมากทั้งในชุมชนจีนเองและชุมชนไทย คือ ข้าวมันไก่ ขนมจีนไหหล� ำ จับฉ่าย ไหหล� ำ ข้าวต้มไหหล� ำซึ่งเป็นข้าวต้ม เนื้อที่แก่พริกไทยและขิง ซาลาเปาไส้ถั่ว และขนมบัวะเกี่ย ( 糕子 g ā ozi) เนื่องจาก พ่อครัวไหหล� ำรุ่นแรก ๆ มักท� ำงาน เป็นพ่อครัวตามบ้านชาวตะวันตกแถบ บางรัก สาทร และสีลม จึงมีความช� ำนาญ ในการปรุงอาหารฝรั่งด้วย พ่อครัวเหล่านี้ เมื่อมีฐานะจนสามารถมีกิจการร้านอาหาร ของตนเองก็ได้น� ำความรู้ใหม่ ๆ ในการ ท� ำอาหารฝรั่งมาประยุกต์ท� ำเป็นอาหาร ฝรั่งแบบไหหล� ำ จนเป็นที่นิยมของลูกค้า ที่ขึ้นชื่อคือ เนื้ออบและซีเต๊ก (Steak) ที่ น� ำเนื้อบดมาทอดราดเกรวี่ (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๔๒) นอกจากนี้ ชาวจีนไหหล� ำยังถนัด ในการประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น เป็นช่าง ตัดเสื้อบุรุษ ช่างทอง ช่างท� ำเครื่องเรือน และเป็นเจ้าของกิจการต่าง ๆ เช่น โรงเลื่อย โรงแรม โรงน�้ ำแข็ง ร้านกาแฟ ศิลปะก า รแสดงของช า วจีน ไหหล� ำที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหุ่น กระบอกไทย คือ หุ่นไหหล� ำ ซึ่งจัดแสดง กันในงานเทศกาลประจ� ำปีที่ศาลเจ้าแม่ ทับทิม หรือบางคราก็จัดแสดงเป็นการ แก้บนในหมู่ชาวจีนไหหล� ำ หุ่นไหหล� ำ โดยทั่วไปจะแสดงเรื่องชีวิตรัก โศก แต่ มักลงเอยด้วยความสุข เช่น เรื่องชายหนุ่ม ที่เดินทางไปสอบจอหงวน ท่วงท� ำนอง เพลงที่เล่นประกอบจะอ่อนหวานและ นิยมใช้เครื่องดนตรีประเภทซอสองสาย ปี่ ฆ้อง และกลอง (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๔๓) ความสัมพันธ์ของหุ่นไหหล� ำกับ หุ่นกระบอกไทยนั้น จักรพันธุ์ โปษยกฤต ได้กล่าวไว้เมื่อเล่าถึงประวัติความเป็น มาของหุ่นกระบอกไทยว่า ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีชาวอ� ำเภอโกรกพระ คนหนึ่งชื่อ นายเหน่ง นายเหน่งผู้นี้ได้ไป เห็นการแสดงหุ่นไหหล� ำ มีความชื่นชอบ จึงได้แกะหุ่นที่มีหัวหุ่นแบบไทย แต่ตัว หุ่นมีกระบอกเป็นแกนเลียนแบบไหหล� ำ เวลาแสดงหุ่นนายเหน่งเป็นผู้ร้องและเชิด หุ่นเอง นายเหน่งมีเพื่อนชื่อตาตัด ที่เคย เชิดหุ่นอยู่กับนายเหน่ง แต่ภายหลังแยก ตัวไปตั้งคณะหุ่นของตนเองที่บ้านเดิมใน จังหวัดพิจิตร ตั้งชื่อคณะหุ่นว่า คณะตาตัด ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ เสด็จไป ทรงตรวจราชการหัวเมืองภาคเหนือ ใน ครั้งนั้นหม่อมราชวงศ์เถาะ พยัคฆเสนา ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงพระโอรสเสด็จในกรมฯ ซึ่งตามเสด็จไปด้วย ได้เห็นการแสดง หุ่นกระบอกของคณะตาตัดที่ผู้ส� ำเร็จ ราชการเมืองสุโขทัยจัดหามาแสดงให้ ชม หม่อมราชวงศ์เถาะเกิดติดใจคิดจะ เล่นหุ่นกระบอกบ้าง และได้ทูลขอเงิน จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรม พระยาด� ำรงราชานุภาพ เพื่อน� ำไปท� ำหุ่น กระบอก ดังนั้นประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงเกิดหุ่นกระบอกที่เรียกว่า หุ่นคุณเถาะ ที่กรุงเทพฯ (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๔๓)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=