สำนักราชบัณฑิตยสภา

ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ 545 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ก็ต้องกลายเสียงวรรณยุกต์ตามระบบ เสียงภาษาแต้จิ๋วโดยออกเสียงรวมกันว่า แคะนั้ง (= คนแคะ) ด้วยเหตุนี้คนไทยจึง ใช้ค� ำว่า “แคะ” ในการเรียกชาวจีนกลุ่มนี้ ด้วย (วรศักดิ์ ๒๕๔๘ : ๑๒-๑๓) ชาวจีนแคะบางกลุ่ มอพยพมา เมืองไทยโดยเดินทางมากับชาวจีนแต้จิ๋ว แล้วตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางและภาค กลางตอนบนของไทย งานอาชีพที่ถนัด คือ งานช่างฝีมือ เช่น ช่างฟอกหนัง ช่าง ท� ำเครื่องหนัง ช่างท� ำรองเท้า ช่างตัดผม ช่างตัดเสื้อผ้าบุรุษ ช่างเงิน ช่างเหล็ก ช่างเชื่อม เมื่อมีหลักฐานฐานะดีก็มีกิจการ เป็นของตนเอง เป็นเจ้าของโรงงานฟอก หนัง เจ้าของโรงงานผลิตยาสูบ เจ้าของ ร้านตัดเสื้อผ้าบุรุษ เจ้าของร้านค้าของช� ำ เมื่อถึงรุ่นลูกรุ่นหลานก็ขยายไปสู่อาชีพ อื่น ๆ เช่น ผู้ได้รับการศึกษาก็ไปเป็น นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ ครูอาจารย์ และข้าราชการ (วรศักดิ์ ๒๕๔๘ : ๑๕๖) ชาวจีนแคะทางภาคกลางของไทยอยู่ กระจายกันไปเหมือนจีนกลุ่มภาษาพูด อื่น ๆ แต่จังหวัดที่มีชุมชนชาวจีนแคะ เป็ นกลุ่ มใหญ่ คือจังหวัดกาญจนบุรี ชาวจีนแคะอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งย้ายถิ่นฐาน ไปทางภาคเหนือ คือกลุ่มที่ไปกับการ สร้างทางรถไฟและถนนที่สร้างไปทาง ภาคเหนือถึงล� ำปางในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย ไปพ� ำนักอยู่ที่ล� ำปางก่อน หลังจากนั้น จึงขยายไปสู่จังหวัดใกล้เคียง เช่น น่าน เชียงราย แพร่ จนจังหวัดทั้งสี่นี้มีชาวจีน แคะชุมชนใหญ่ (วรศักดิ์ ๒๕๔๘ : ๑๔๖-๑๔๗) เมื่อแรกอพยพมาเมืองไทยชาว จีนแคะบางกลุ่มเดินทางมากับเรือของ ชา วจีนฮก เ กี้ยนไปขึ้นบกที่ทา ง ใต้ ของไทย และไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเมือง ส� ำคัญ ๆ โดยเฉพาะที่สงขลา มีชุมชน ชาวจีนแคะที่หาดใหญ่ซึ่งเป็นชุมชน ชาวจีนแคะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชาวจีนแคะที่ภาคใต้ ประกอบอาชีพ ท� ำสวนยางพารา เป็นเจ้าของสวนยาง เจ้าของร้านอาหาร (วรศักดิ์ ๒๕๔๘ : ๑๕๗) อาหารที่ขึ้นชื่อของชาวจีนแคะ และเป็นที่นิยมทั่วไปในเมืองไทย คือ ก๋วยเตี๋ยวแคะที่ใส่ลูกชิ้นที่เป็นเต้าหู้ยัดไส้ และลูกชิ้นอื่น ๆ อีกหลายอย่าง อาหาร จานโปรดของชาวจีนแคะที่เรารู้จักกันดี อีกหลาย ๆ อย่าง คือ เต้าหู้ยัดไส้ไก่อบเกลือ ผัดเปรี้ยวหวานกระเพาะหมูหรือไส้ หมูตัน ลูกชิ้นหมู เนื้อตุ๋นจีนแคะที่ใส่ เครื่องในวัว และเนื้อผัดขิงหรือมะระ (วรศักดิ์ ๒๕๔๘ : ๑๒๔-๑๓๒) แม้ว่าชาวจีนแคะจะเป็นนักเดิน ทางอพยพมาแต่อดีต มีวิถีชีวิตแบบเร่ร่อน แต่ก็มีอัตลักษณ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันใน หมู่ชาวจีนทั่วไปว่า ชาวจีนแคะเป็นพวก ที่ชอบเก็บตัว ใฝ่ศึกษาหาความรู้ และ ยึดมั่นในจารีตประเพณีของตน เป็นต้นว่า ประเพณีการตั้งชื่อชาวจีนแคะที่ต่างจาก ชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ คือ ไม่ตั้งชื่อเด็กทารก จนกว่าจะถึงวันที่สามนับจากวันที่เด็ก ทารกคลอดจากครรภ์มารดา (วรศักดิ์ ๒๕๔๘ : ๙๘, ๑๘๘) แซ่บางแซ่เป็นแซ่เฉพาะของชาว จีนแคะ ดังนั้นแม้จะเป็นแซ่ซึ่งไม่ค่อย ได้ยินบ่อยมาก แต่เมื่อเอ่ยขึ้นมาก็จะรู้กัน ในหมู่คนจีนว่าเป็นแซ่ของชาวจีนแคะ เป็นต้นว่า แซ่ชิว ( 丘 Qiū ) แซ่วู ( 巫 Wū ) แซ่ลี่ ( 利 Lì ì ) เช่นเดียวกับ แซ่ยฺหวิน ( 云 Yún ) และแซ่ฝู ( 符 Fú ) ที่เอ่ยขึ้น มาก็จะรู้กันว่าเป็นแซ่ของคนไหหล� ำ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=