สำนักราชบัณฑิตยสภา

ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ 543 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ เรือส� ำเภาของชาวจีนแต้จิ๋วที่เดิน ทางมาเมืองไทยเป็นส� ำเภาที่มีหัวเรือเป็นสี แดงซึ่งเรียกตามส� ำเนียงแต้จิ๋วว่า อั่งเถ่าจุ๊ง ( 红头船 Hó ó ngtó ó u chu á á n) โดยออก เดินทางจากท่าเรือจางหลิน ( 樟林 Zh a nglí í n) และท่าเรือซัวเถา ( 汕头 Sh à à ntó ó u) แล่นผ่านทะเลจีนใต้เข้าสู่อ่าว ไทย แล้วมาขึ้นที่เมืองจันทบุรีซึ่งเป็น จุดแรกที่เรือจอด ดังนั้น ชาวจีนแต้จิ๋ว จ� ำนวนมากจึงตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จันทบุรี ชุมชนชาวจีนที่เมืองนี้ได้ให้ความร่วมมือ อย่างดีเมื่อพระยาตากมายึดเมืองจันทบุรี เป็นที่มั่น ท� ำให้พระยาตากสามารถต่อ เรือ รวบรวมก� ำลังคนและเสบียงอาหาร แล้วน� ำกองเรือเข้ามาทางเมืองธนบุรี มาตี ค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นแตกพ่ายไป เมื่อ พระยาตากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ แล้ว กรุงธนบุรีขาดแคลนก� ำลังคน จึงมี ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพเข้ามาจ� ำนวนมาก บาง ส่วนเข้าไปช่วยเดินเรือส� ำเภาหลวง ช่วย งานราชการ บางส่วนก็รับจ้างใช้แรงงาน เป็นช่างฝีมือ ท� ำสวนท� ำไร่ และท� ำการค้า เล็ก ๆ (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๒๙) ชาวจีนแต้จิ๋วมีความถนัดในการ แล่นเรือและการท� ำประมง ดังนั้นจึงมี ชาวจีนแต้จิ๋วอพยพไปตั้งถิ่นฐานกันที่ ชลบุรีซึ่งเป็นชุมชนประมง เพราะสามารถ ประกอบอาชีพที่มีความถนัดได้ดี จนมี กิจการเรือประมง และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง กับการประมง เช่น โรงงานท� ำน�้ ำปลา ท� ำหอยดอง ปลาแห้ง บางกลุ่มที่ถนัด เรื่องการเกษตร ก็ปลูกอ้อยท� ำน�้ ำตาล เช่นเดียวกับชาวจีนแต้จิ๋วซึ่งถนัดเรื่อง การเกษตรที่จันทบุรีก็ปลูกพริกไทยจน เป็นสินค้าขึ้นชื่อของเมืองนี้ พืชเกษตร ซึ่งชาวจีนแต้จิ๋วที่ตั้งถิ่นฐานที่กรุงธนบุรี ปลูกกันมากคือ การท� ำสวนพลู เพื่อปลูก พลูขายกันอย่างเป็นล�่ ำเป็นสัน จนได้ ชื่อว่า ตลาดพลู (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๖๙-๗๑) นอกจากนี้ชาวจีนแต้จิ๋วมัก ท� ำธุรกิจการค้ าด้ านการค้ าข้ าว การ ประกันภัย การธนาคาร โรงงานผลิตยาง (Area Handbook for Thailand 1968: 100) เนื่องจากมีชาวจีนแต้ จิ๋ว เป็ น จ� ำนวนมากกว่าชาวจีนกลุ่มอื่น ๆ ใน เมืองไทย ประกอบกับความสัมพันธ์ อันยาวนาน ชาวจีนแต้จิ๋วจึงมีความสนิท ใกล้ชิดกับคนไทยทั้งด้ านสังคมและ วัฒนธรรมจนเป็นเหมือนสื่อกลางในการ ถ่ายทอดวัฒนธรรมจีนหลาย ๆ อย่างให้แก่ สังคมไทย ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ภาษา จีนส� ำเนียงแต้จิ๋วที่เข้ามาในภาษาไทย โดยการติดต่อค้าขาย จนกลายเป็นภาษา ในวงการค้า เพราะธุรกิจเรื่องค้าขาย ส่วนใหญ่อยู่ในมือชาวจีนแต้จิ๋ว ค� ำยืมภาษาจีนในภาษาไทยมีค� ำที่ ยืมมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วเป็นจ� ำนวนมาก จากการศึกษาเรื่อง ค� ำยืมภาษาจีนในภาษา ไทยปัจจุบันที่รวบรวมได้ประมาณ๕๐๐ค� ำ ปราณี กายอรุณสุทธิ์ (๒๕๒๖ : ๓๒๐) พบ ว่าเป็นค� ำยืมจากภาษาจีนแต้จิ๋วร้อยละ ๔๔ ค� ำยืมจากภาษาจีนฮกเกี้ยนร้อยละ ๒๔ ค� ำ ยืมภาษาจีนแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน (แต้จิ๋วและ ฮกเกี้ยนเป็นภาษาจีนถิ่นหมิ่นใต้) ร้อยละ ๑ และมีค� ำยืมที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็น ค� ำยืมภาษาจีนแต้จิ๋วหรือภาษาจีนฮกเกี้ยน ประมาณร้อยละ ๑๙ ที่เหลืออีกร้อยละ ๑๒ เป็นค� ำยืมจากภาษาจีนส� ำเนียงอื่น ๆ เช่น ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาจีนไหหล� ำ ภาษาจีนแคะ ภาษาจีนกลาง พริกไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=