สำนักราชบัณฑิตยสภา
ชุมชนจีนในประเทศไทย : หลากหลายส� ำเนียงจีน The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 542 “...ใช่ว่าแต่ตัวเราฤๅในเวลาปัจจุบันนี้ ถึง พระเจ้าแผ่นดินอันเปนบรรพบุรุษของเรา แต่ในปางก่อนล่วงลับมาแล้วช้านาน ย่อม ลงเห็นเปนอย่างเดียวยั่งยืนมาว่า พวกจีน ทั้งหลายซึ่งเข้ามาในกรุงสยามนี้ย่อมมาท� ำ การให้เปนความเจริญแก่แผ่นดินของเรา เปนอันมาก เพราะเหตุฉะนั้นพวกจีนจึง ได้รับความปกครอง ท� ำนุบ� ำรุงด้วยความ เอื้อเฟื้อเสมอเหมือนอย่างคนไทย ความ สนิทสนมในระหว่างพวกจีนกับราษฎร ของเราย่อมเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน มิได้ ถือว่าเปนคนมาแต่ต่างประเทศ เราย่อม สังเกตอยู่ด้วยความยินดีว่า พวกจีนได้ เข้ามาในพระราชอาณาเขตทวีขึ้นโดย ล� ำดับ แต่มิได้มีความล� ำบากอันใดทวีขึ้น ในการปกครองรักษา ด้วยเหตุว่าพวกจีน เปนคนมีความเพียรพยายาม ตั้งหน้าท� ำ มาค้าขายโดยกวดขัน เมืองเรามีแต่แผ่น ดินเปนอันมากซึ่งยังต้องการคนอันจะมา ท� ำการให้เกิดผลทวียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อพวกจีนเข้ามามากขึ้นเพียงใด เราก็ยิ่ง เป็นที่พอใจ...” ก็ยังมีจ� ำนวนน้อยกว่าชาวจีนแต้จิ๋วใน กรุงเทพฯ (Skinner 1958: 20) ชาวจีนแต้จิ๋ว แต้ จิ๋ว หรือเฉาโจว ( 潮州 Chá ozh ō u) ในภาษาจีนกลาง เป็นภาษาถิ่น ของชาวจีนแต้ จิ๋วในมณฑลกวางตุ้ ง ( 广东 Gu a ngd ō ng) ทางใต้ของมณฑล ฮกเกี้ยน ( 福建 Fújiàn ) พื้นที่ที่ชาว จีนแต้จิ๋วมีภูมิล� ำเนาอยู่ ด้านหน้าติดกับ ทะเล ด้านหลังเป็นภูเขา ต้องเผชิญกับ ภัยธรรมชาติอยู่เป็นประจ� ำทั้งน�้ ำท่วม น�้ ำทะเลหนุน ฝนแล้ง และมีไอเค็มจาก ทะเลที่ส่งผลต่อการท� ำนา จึงไม่ใช่พื้นที่ ที่ดีนัก ประกอบกับพื้นที่เพาะปลูกและ ที่ดินท� ำกินก็มีน้อย ผลผลิตที่ได้จากไร่นา มีไม่เพียงพอ จนทางการจีนต้องให้พ่อค้า ส่งเรือส� ำเภามาซื้อข้าวจากสยาม จึงมี พ่อค้าส� ำเภาและชาวจีนแต้จิ๋วอพยพมาตั้ง ถิ่นฐานที่กรุงศรีอยุธยาและแถบหัวเมือง ชายฝั่งทะเลตะวันออกตั้งแต่สมัยอยุธยา ตอนปลาย (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๒๒๘) ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จ� ำนวนชาวจีน ที่เดินทางมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและ มาตั้งหลักแหล่งในไทยได้ทวีจ� ำนวน ขึ้นทุกปี จนมีถึง ๒๖๕,๔๔๑ คน ใน ย่านธุรกิจบริเวณส� ำเพ็งและพื้นที่อื่น ๆ โดยรอบใน พ.ศ. ๒๔๙๗ (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๗๐) อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลัง จ� ำนวนชาวจีนฮก เ กี้ยนและชาวจีน กวางตุ้งได้ลดลงอย่างมาก (Skinner 1957: 41) ท� ำให้ชาวจีนอพยพทั้ง ๕ กลุ่มนี้มี การเปลี่ยนแปลงไปดังจ� ำนวนชาวจีนใน กรุงเทพฯ ที่สกินเนอร์ให้ไว้เมื่อประมาณ ปี ๒๕๐๐ ว่ามีชาวจีนแต้จิ๋วร้อยละ ๖๐ ชาวจีนแคะร้อยละ ๑๖ ชาวจีนไหหล� ำ ร้อยละ ๑๑ ชาวจีนกวางตุ้งร้อยละ ๗ ชาวจีนฮกเกี้ยนร้อยละ ๔ และชาวจีนที่ไม่ ได้อยู่ใน ๕ กลุ่มนี้อีกร้อยละ ๒ ดังนั้น ชาวจีนแต้จิ๋วจึงเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดใน กรุงเทพฯ และยังนับว่ามากที่สุดในโลก แม้แต่ที่เมืองซัวเถาซึ่งเป็นภูมิล� ำเนาเดิม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=