สำนักราชบัณฑิตยสภา

ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ 541 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ชาวจีนที่เข้ ามาตั้งถิ่นฐานใน ประเทศไทยตั้งแต่สมัยธนบุรีจนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่มาจากมณฑล กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน และเกาะไหหล� ำ ๑ (ดู แผนที่ประกอบ) ชุมชนจีนในสังคมไทย อาจจ� ำแนกได้ตามกลุ่มภาษาถิ่นที่พูด เป็น ๕ กลุ่ม คือ กลุ่มที่พูดส� ำเนียงภาษา จีนแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน แคะ กวางตุ้ง และ ไหหล� ำ ชุมชนจีนในไทย ๕ กลุ่มภาษานี้ กลุ่มที่เดินทางเข้ามาในระยะแรกในสมัย อยุธยา คือชาวจีนฮกเกี้ยนและกวางตุ้ง ในสมัยนั้นชาวจีนที่เดินทางมาค้าขาย และตั้งถิ่นฐานในไทยกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ชาวจีนฮกเกี้ยน ซึ่งได้ เพิ่มจ� ำนวนขึ้น จนมีมากกว่าชาวจีนกวางตุ้ง แต่หลังจาก เสียกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๒๓๑๐) จนถึง สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวจีนแต้จิ๋ว ได้อพยพเข้ามาเป็นจ� ำนวนมากจนเป็น กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และแถบ ที่ราบลุ่มภาคกลาง ตามมาด้วยชาวจีน ไหหล� ำและแคะ (Skinner 1957: 40-41) ไม่มีหลักฐานที่เป็นทางการว่าชาวจีน อพยพมีจ� ำนวนเท่ าใดในสมัยแรกตั้ง กรุงรัตนโกสินทร์ มีเพียงบันทึกของ จาคอบ ทอมลิน (Jacob Tomlin) ที่กล่าวว่า ใน พ.ศ. ๒๓๗๐ บางกอกมีประชากร ประมาณ ๗๗,๓๐๐ คน ในจ� ำนวนนี้เป็น ชาวจีน๓๑,๐๐๐คนและลูกจีน๕,๐๐๐คน โดยประมาณ แสดงว่าในสมัยรัชกาล ที่ ๓ บางกอกมีคนจีนรวมร้อยละ ๔๗ (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๙) ชาวจีน ๓๖,๐๐๐ คนนี้ ส่วนใหญ่ ตั้งถิ่นฐานในบริเวณส� ำเพ็ง ซึ่งกินพื้นที่ ตั้งแต่วัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ถึงวัดปทุมคงคา ส� ำเพ็งจึงเป็นชุมชนที่อยู่ อาศัยและค้าขายของชาวจีนทุกกลุ่มภาษา ที่มาตั้งถิ่นฐานในส� ำเพ็ง จากการส� ำรวจ ส� ำมะโนครัวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏว่าใน ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) มีชาวจีน อพยพในมณฑลกรุงเทพฯ แยกตามภาษา จีนถิ่นที่พูดเป็น ๕ กลุ่ม ดังนี้ (สถาบัน เอเชียศึกษา ๒๕๓๔ : ๒) ๑ ในบทความนี้ ค� ำภาษาจีนซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของคนไทยจะให้เสียงอ่านตามที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ส่วนที่กล่าวถึงชาวจีนทั้ง ๕ กลุ่มก็จะพิมพ์ อักษรจีนและสัทอักษรตามระบบเสียงภาษาจีนกลางไว้ในวงเล็บท้ายค� ำแต่ละค� ำเมื่อปรากฏเป็นครั้งแรก ชาย หญิง รวม แต้จิ๋ว ๗๘,๐๙๑ ๘,๒๐๗ ๘๖,๒๙๘ ฮกเกี้ยน ๑๙,๘๒๓ ๒,๓๖๗ ๒๒,๑๙๐ กวางตุ้ง ๒๕,๙๗๘ ๔,๑๕๑ ๓๐,๑๙๒ ไหหล� ำ ๑๒,๑๖๕ ๙๐๓ ๑๓,๐๖๘ แคะ ๙,๔๑๑ ๑,๔๐๙ ๑๐,๘๒๐ ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ น. ๓๐/๙ ยอดส� ำมะโนครัว มณฑลกรุงเทพฯ ศก. ๑๒๘ จ� ำนวนคน ภาษาจีนถิ่น ชาวจีนอพยพในกรุงเทพฯ ตาม ตา ร า งข้ า งต้ นมีจ� ำนวนรวมทั้งสิ้น ๑๖๒,๕๖๘ คน (ในจ� ำนวนนี้เป็นหญิง เพียง ๑๗,๐๓๗ คน) คิดเป็นร้อยละโดย ประมาณได้ดังนี้ ชาวจีนแต้จิ๋วร้อยละ ๕๓ ชาวจีนฮกเกี้ยนร้อยละ ๑๔ ชาวจีน กวางตุ้งร้อยละ ๑๙ ชาวจีนไหหล� ำร้อยละ ๘ และชาวจีนแคะร้อยละ ๖ การที่ชาวจีน จากมณฑลแถบชายทะเลตะวันออก เฉียงใต้ของจีนพากันอพยพมาตั้งถิ่นฐาน ในไทย คงเป็นเพราะความคล้ายคลึงของ สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ วิถีชีวิต และศาสนา นอกจากนี้ยังได้รับพระมหา กรุณาธิคุณเฉกเช่นเดียวกับพสกนิกร ชา วไทยจ า กพระมหา กษัตริ ย์ ไทย ทุกพระองค์ ดังพระราชด� ำรัสของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวในพิธีเปิดโรงพยาบาลเทียนฟ้า ซึ่ง ชาวจีนในไทยร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๘ ว่า (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๖๒)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=