สำนักราชบัณฑิตยสภา

ชุมชนจีนในประเทศไทย : หลากหลายส� ำเนียงจีน The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 540 กรมท่าซ้ายดูแลชาวจีนที่มาตั้งถิ่นฐานใน ไทยตามแบบสมัยอยุธยา และแต่งตั้งให้ พระยาโชดึกราชเศรษฐีเป็นเจ้ากรมท่าซ้าย ซึ่งมีหน้าที่ช่วยทางราชการไทยควบคุม ดูแลชาวจีนซึ่งเป็นผู้คนพวกเดียวกัน (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๔๙) ชาวจีนอพยพ เหล่านี้ นอกจากช่วยในด้านการค้าส� ำเภา ของหลวงแล้ว ยังใช้ความช� ำนาญและแรง กายประกอบอาชีพอื่น ๆ เป็นต้นว่า พ่อค้า ช่างฝีมือ และแรงงานรับจ้าง เมื่อมีชาวจีนอพยพเข้ามามากขึ้น จึงมีการเก็บภาษีค่าแรงงานชาวจีนซึ่งมี ขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยเก็บค่าแรง งาน ๑ บาท ๒ สลึงต่อ ๓ ปี หรือต้อง ท� ำงานให้ทางราชการ ๑ เดือน ในเวลา ๓ ปี เมื่อเสียค่าแรงงานให้แก่ทางราชการ ไทยแล้ว ก็จะได้รับใบฎีกา และผูกข้อ มือด้วยไหมสีแดงประทับครั่งที่เป็นตรา ประจ� ำเมืองนั้น ๆ การเก็บภาษีค่าแรง งานลักษณะนี้เรียกว่า “การผูกปี้ข้อมือ จีน” ซึ่งสังเกตเห็นได้ง่ายว่าชาวจีนอพยพ ผู้ใดเสียภาษีค่าแรงงานแล้วด้วยมีไหมสี แดงที่ข้อมือ และยังเป็นผลดีทั้งทางการ ปกครองและทางเศรษฐกิจ คือ ท� ำให้ทาง ราชการไทยรู้จ� ำนวนชาวจีนที่มาพ� ำนักอยู่ ในกรุงรัตนโกสินทร์และหัวเมืองต่าง ๆ และท� ำให้ทางราชการไทยมีรายได้เพิ่ม ขึ้น การผูกปี้ข้อมือจีนนี้ได้ปฏิบัติต่อเนื่อง ไปจนถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงยกเลิกไปใน พ.ศ. ๒๔๕๑ (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๔๙) นอกจากการผูกปี้ข้อมือจีนที่ทาง ราชการไทยได้รายได้จากชาวจีนอพยพ แล้ว เรือส� ำเภาหลวงที่ออกไปค้าขายกับ ประเทศจีนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ยัง ได้รับชาวจีนอพยพมากับเรือในเที่ยวขา กลับเป็นจ� ำนวนมาก เพื่อให้เรือส� ำเภาได้ บรรทุกเต็มระวางในเที่ยวขากลับจากจีน และเป็นการเพิ่มรายได้จากค่าโดยสารของ ชาวจีนอพยพด้วย เหตุที่ในสมัยนั้นมีชาว จีนเดินทางเข้ามาพ� ำนักในประเทศไทย จ� ำนวนมาก เพราะประชากรจีนในแถบ มณฑลชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้มี จ� ำนวนเพิ่มขึ้นมากจนขยายพื้นที่เพาะ ปลูกไม่ทันกับการขยายตัวของประชากร นอกจากนี้ยังมีปัญหาบ้านเมืองของจีน เองตั้งแต่ปัญหาสงครามฝิ่นระหว่างจีน กับอังกฤษ (พ.ศ. ๒๓๘๒-๒๓๘๕) กบฏ ไท้ผิง (พ.ศ. ๒๓๙๑-๒๔๐๘) และภัย จากธรรมชาติที่ก่อให้เกิดพืชผลเสียหาย ก่อให้เกิดความอดอยาก ท� ำให้ชาวจีน ในภาคใต้ของจีนเดินทางอพยพไปโพ้น ทะเลมากขึ้น ชาวจีนที่เดินทางเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานในเมืองไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว และเป็นชายจีนแทบทั้งสิ้น เมื่อ อพยพเข้ามาท� ำมาหากินแล้วก็มักตั้งหลัก ปักฐานและแต่งงานกับหญิงไทย จนผสม กลมกลืนไปกับสังคมไทยในที่สุด ชาวจีน เหล่านี้มีความขยัน อุตสาหะ อดทน หนัก เอาเบาสู้ ท� ำงานทุกอย่างตั้งแต่กุลี งาน โยธา รับจ้างทั่วไป ขายแรงงานตามท่าเรือ และโรงสี ท� ำเหมืองแร่ ต่อเรือ เดินเรือ ค้าขาย ท� ำขนม ขายของช� ำ ไปเช่าที่จาก ชนชั้นสูงของไทยมาเป็นพื้นที่ท� ำไร่ท� ำ สวน แต่ไม่นิยมท� ำนา สวนผักของชาวจีน อพยพเหล่านี้ได้น� ำพืชผักของจีนมาปลูก จนเป็นที่รู้จักทั่วไปของคนไทย เป็นต้นว่า ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกะหล�่ ำปลี ผัก บุ้ง ผักกุยช่าย ทั้งยังน� ำมาท� ำเป็นอาหาร และขนมอาหารว่างที่คนไทยชื่นชอบ เช่น ขนมกุยช่าย ผักกาดดอง เต้าหู้ เต้าเจี้ยว วุ้น เส้น ขนมเปี๊ยะ ขนมโก๋ นอกจากพืชผัก และอาหารแล้ว ชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ยังได้น� ำวัฒนธรรม วิถีชีวิต แนวคิด และ ขนบแบบแผนของสังคมชาวจีนเข้ามาสู่ ประเทศไทยด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=