สำนักราชบัณฑิตยสภา

ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ 539 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ * บทความนี้ปรับปรุงจากการบรรยายผลงานทางวิชาการในที่ประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ บทน� ำ คนจี น เ ดินท า ง ม า เ มื อ ง ไท ย ตั้งแต่สมัยที่มีความสัมพันธ์ในระบบ บรรณาการระหว่างไทยกับจีนในสมัย สุโขทัย มีช่างจีนที่ทางราชส� ำนักจีนส่งมา สอนช่างไทยท� ำเครื่องสังคโลก อย่างไร ก็ตาม ในสมัยนั้นชาวจีนยังไม่ได้เข้ามา ตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย ส่วนใหญ่จะเป็น พ่อค้าชาวจีนที่เดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขาย ที่เมืองต่าง ๆ บริเวณรอบอ่าวไทยและ ที่เมืองสุโขทัยบ้าง ต่อมาในสมัยอยุธยา พ่อค้าชาวจีน ที่เข้ามาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและช่วย ด้านการค้าส� ำเภาของไทยด้วย ดังหลักฐาน ที่ปรากฏในรัชสมัยสมเด็จพระบรม- ไตรโลกนาถที่ระบุหน้ าที่ราชการค้ า ส� ำเภาในกฎหมายนาพลเรือนว่ามี จุ่นจู๊ นายส� ำเภา ต้นหนดูทาง ล้าต้าบาญชีใหญ่ (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๔๘) สมัยธนบุรี มีนโยบายสนับสนุน ให้พ่อค้ าชาวจีนมาติดต่อค้ าขายและ เข้ามาประกอบอาชีพค้าขายในเมืองไทย จึงมีชาวจีนเดินทางมาค้ าขายตามหัว เมืองแถบชายทะเลตะวันออก กรุงธนบุรี และลงไปถึงหัวเมืองทางใต้ โดยเฉพาะ ที่กรุงธนบุรีมีชาวจีนแต้จิ๋วเข้ามาค้าขาย และพ� ำนักอยู่เป็นจ� ำนวนมาก เนื่องจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีเชื้อ สายแต้จิ๋ว (Skinner 1957: 45-46) ใ น รั ช ส มั ย พ ร ะ บ า ทส ม เ ด็ จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช การ ค้าขายระหว่างไทย-จีน เป็นแหล่งสร้าง รายได้ใหญ่ของไทยในช่วงที่ยังมีการศึก สงครามและการก่อสร้างราชธานีใหม่ การค้าส� ำเภากับจีนสร้างรายได้ให้แก่ กรุงรัตนโกสินทร์ ต่ อเนื่องมาจนใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้ า เจ้าอยู่หัว (วิลาสวงศ์ ๒๕๔๘ : ๔๕) ดังนั้น ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ทางราชการไทย จึงไม่มีนโยบายกีดกันชาวจีนที่อพยพ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย และจัดให้ ชาวจีนเป็น “กลุ่มคนนอกระบบไพร่” ต่างกับชาวมอญ ลาว ญวน และเขมร ที่เข้ามาพ� ำนักอยู่ในไทย ดังนั้นชาวจีน จึงไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน มีความเป็น อิสระ สามารถประกอบอาชีพที่ตนถนัด และเดินทางไปค้าขายตามหัวเมืองต่าง ๆ ได้ ในสมัยนั้นทางราชการไทยก� ำหนดให้ บทคัดย่อ คนจีนเดินทางมาเมืองไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวจีนที่เดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขาย ครั้นถึงสมัยอยุธยาบางส่วนได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและช่วยด้านการค้าส� ำเภาของไทย จนถึงสมัยกรุงธนบุรีจึงมีชาว จีนเข้ามาค้าขายและพ� ำนักอยู่เป็นจ� ำนวนมาก ชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตั้งแต่สมัยธนบุรีจนถึงสมัย รัตนโกสินทร์มักมาจากมณฑลกวางตุ้ง ฮกเกี้ยน และไหหล� ำ ชุมชนจีนในสังคมอาจจ� ำแนกได้ตามกลุ่มภาษาถิ่นที่พูดเป็น ๕ กลุ่ม คือ กลุ่มที่พูดส� ำเนียงภาษาจีน แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน แคะ กว้างตุ้ง และไหหล� ำ ใน ๕ กลุ่มนี้ กลุ่มที่เดินทางเข้ามาระยะแรกในสมัยอยุธยาคือ ชาวจีน ฮกเกี้ยนและกวางตุ้ง แต่หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นชาวจีนแต้จิ้วได้อพยพเข้ามา เป็นจ� ำนวนมากจนเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ตามด้วยชาวจีนไหหล� ำและแคะ ค� ำส� ำคัญ : ชุมชนจีนในไทย, จีนแต้จิ๋ว, จีนฮกเกี้ยน, จีนแคะ, จีนกวางตุ้ง, จีนไหหล� ำ ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=