สำนักราชบัณฑิตยสภา
สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์, เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต และสมชัย บวรกิตติ วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ 535 ถึง ๑,๓๕๐ ตัน สามารถเทียบได้กับ แบบจ� ำลอง ในภาพที่ ๕ ๑๒ ที่แสดงให้ เห็นถึงการเพิ่มขึ้น และลดลงของระดับ ออกซิเจนละลายน�้ ำ เมื่อมวลน�้ ำที่มีมลพิษ นั้นไหลผ่านตามกระแสน�้ ำ รวมถึงการ เปลี่ยนแปลงปริมาณจุลินทรีย์ในแหล่ง น�้ ำนั้นด้วย หากคิดค� ำนวณว่าจะต้องดึง เอาออกซิเจนละลายน�้ ำจากแม่น�้ ำไปใช้ใน การย่อยสลายปริมาณน�้ ำตาลทรายแดงดัง กล่าวให้หมด โดยไม่มีการเติมออกซิเจน ให้กับน�้ ำโดยกลไกทางธรรมชาติ โดยตั้ง สมมุติฐานที่ว่า ปริมาณออกซิเจนละลาย น�้ ำในแม่น�้ ำมีสูงถึง ๔ มิลลิกรัม/ลิตร จะ ต้องใช้มวลของน�้ ำสูงถึง ๓๓๗,๕๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ในการป้อนออกซิเจน ละลายน�้ ำให้กับกระบวนการทางชีววิทยา ในการย่อยสลายน�้ ำตาลทรายแดง จะ ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนละลายน�้ ำใน แหล่งน�้ ำนั้นลดลงจนถึงระดับที่ต�่ ำกว่า ๒ มิลลิกรัม/ลิตร ก็จะเป็นอันตรายต่อสัตว์ น�้ ำโดยเฉพาะปลาชนิดต่าง ๆ ๔. กลไกการ เ กิดผลกระทบ ต่อระดับออกซิเจนละลายน�้ ำในแหล่ง น�้ ำ ดังที่กล่าวแล้วว่า น�้ ำตาลทรายแดง ที่ละลายลงในแหล่งน�้ ำนั้นคือมลพิษสาร อินทรีย์ ซึ่งสามารถวัดได้ในรูปของบีโอดี ที่จะส่งผลกระทบต่อระดับออกซิเจน ละลายน�้ ำในแหล่งน�้ ำนั้นๆ โดยระดับ ออกซิเจนละลายน�้ ำที่เหมาะสมที่จะส่งผล ให้สิ่งมีชีวิตสามารถด� ำรงชีวิตอยู่ได้ก็แตก ต่างกันไปตามชนิดหรือประเภทของสิ่ง มีชีวิต เช่น ปลา ระดับออกซิเจนละลาย น�้ ำที่เหมาะสมในการด� ำรงชีวิตจะต้องไม่ ต�่ ำกว่า ๒ มิลลิกรัม/ลิตร นอกจากนี้แล้ว ปลาแต่ละชนิดก็มีความต้องการระดับ ออกซิเจนละลายน�้ ำที่แตกต่างกัน เช่น ปลามีเกล็ดและปลาไม่มีเกล็ดก็มีความ ต้องการระดับออกซิเจนละลายน�้ ำที่แตก ต่างกัน คือ ก. ปลามีเกล็ด ส่วนใหญ่มักมี ความต้องการระดับออกซิเจนละลายน�้ ำ สูงกว่าปลาไม่มีเกล็ด ส่งผลให้ปลามีเกล็ด ส่วนใหญ่มักจะอาศัยที่ผิวน�้ ำ เนื่องจาก บริเวณผิวน�้ ำจะมีปริมาณออกซิเจนละลาย น�้ ำสูงกว่า และปริมาณออกซิเจนละลาย น�้ ำจะลดลงตามระดับความลึกของแม่น�้ ำ หรือแหล่งน�้ ำ ข. ปลาไม่มีเกล็ด ส่วนใหญ่ สามารถทนต่อระดับออกซิเจนละลายน�้ ำ ที่ต�่ ำได้ดีกว่าปลามีเกล็ด เนื่องจากปลาไม่มี เกล็ดส่วนใหญ่จะมีอวัยวะพิเศษที่สามารถ น� ำออกซิเจนในรูปของแก๊สไปใช้ได้ ใน ขณะที่ปลามีเกล็ดส่วนใหญ่จะไม่มีอวัยวะ ดังกล่าว ดังนั้นปลาไม่มีเกล็ดจึงสามารถ อาศัยอยู่ในน�้ ำลึกหรือหน้าดินได้ อนึ่ง ในธรรมชาติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ดังกล่าว ปลาที่ได้รับผลกระทบก่อนคือ ปลาที่อยู่น�้ ำลึกหรือปลาหน้าดินซึ่งส่วน ใหญ่เป็นปลาไม่มีเกล็ด ทั้งนี้เพราะระดับ ออกซิเจนละลายน�้ ำจะอยู่ในระดับต�่ ำเมื่อ เทียบกับระดับผิวน�้ ำ ดังนั้นจะเห็นปลา ไม่มีเกล็ดลอยขึ้นเหนือผิวน�้ ำเป็นจ� ำนวน มาก และด้วยลักษณะทางสรีรวิทยา ของปลาที่มีอวัยวะพิเศษที่สามารถน� ำ ออกซิเจนในรูปแก๊สไปใช้ได้เลย ก็ท� ำให้ สามารถฟื้นตัวได้เร็วเมื่อหนีขึ้นอยู่ผิวน�้ ำ ส่วนที่พบมีปลากระเบนน�้ ำจืดลอยขึ้นมา ตาย ก็เนื่องจากลักษณะทางสรีรวิทยาที่มี พื้นที่ผิวตัวมากเมื่อเทียบกับปลาทั่วไป ใน ขณะที่พื้นที่ช่องเปิดของเหงือกส� ำหรับให้ น�้ ำผ่านเพื่อน� ำออกซิเจนละลายน�้ ำไปใช้ต�่ ำ เมื่อเทียบกับพื้นที่ตัว จะได้รับผลกระทบ มากเมื่อปริมาณออกซิเจนละลายน�้ ำลด ต�่ ำลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งปลาในกระชัง ของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลามีเกล็ด (ปลาทับทิม และ ปลานิล เป็นต้น) ตาย เป็นจ� ำนวนมาก เกิดความเสียหาย ทั้งนี้ เนื่องจากเมื่อออกซิเจนละลายน�้ ำลดลง อย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้ปลาในกระชัง ที่มีความหนาแน่นสูงจะได้รับผลกระทบ มาก และปลาเหล่านั้นไม่สามารถว่ายหนี ไปที่อื่นได้ ๕. กลวิธานการเติม และใช้ ออกซิเจนในธรรมชาติ ดังที่กล่าวข้างต้น ว่าสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ในแหล่งน�้ ำหรือ แม่น�้ ำล� ำคลอง ต้องการออกซิเจนในการ ด� ำรงชีวิต โดยเฉพาะออกซิเจนในรูปของ ออกซิเจนละลายน�้ ำ และกลวิธานการเติม ออกซิเจนให้กับแหล่งน�้ ำข้างต้น เกิดขึ้น โดยกระบวนการหลัก ๒ กระบวนการคือ ก. การเติมออกซิเจนจากอากาศ สู่น�้ ำ ซึ่งเป็นกระบวนการทางกายภาพโดย อาศัยที่ออกซิเจนในอากาศบริเวณผิวน�้ ำ ละลายลงสู่น�้ ำ ซึ่งหากมีการแปรปรวน ของผิวน�้ ำก็จะส่งผลให้การละลายของ ออกซิเจนจากอากาศลงสู่น�้ ำสูงขึ้น ข. การเติมอากาศโดยสาหร่าย พืชน�้ ำ หรือจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์ อาหารโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ เป็น แหล่งอาหารคาร์บอนเพื่อผลิตสารอินทรีย์ และปลดปล่อยออกซิเจนออกสู่แหล่งน�้ ำ เป็นการเติมออกซิเจนในรูปของออกซิเจน ละลายน�้ ำ สมการที่ ๑ C 12 H 22 O 11 + 12O 2 12CO 2 + 11H 2 O
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=