สำนักราชบัณฑิตยสภา
528 การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 ยิ่งเป็นการสะสมและเพิ่มทุนทางปัญญา ให้กับราชการ และยิ่งเป็นการเพิ่มความ สามารถของหน่วยงานภาครัฐในการ สนองตอบปัญหาและความต้องการของ ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่ม มากขึ้น ในทางกลับกัน หากมีการเข้าออก ของข้าราชการและพนักงานในอัตราที่ สูง ต้นทุนจากการลาออกของข้าราชการ/ พนักงานก็จะสูงขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายโดยตรง ที่จะเกิดขึ้นจากการสรรหา การฝึกอบรม เพื่อให้สามารถท� ำงานแทนข้าราชการ คนเดิมที่ออกไป นอกจากนี้ ยังมีต้นทุน ทางอ้อม ซึ่งได้แก่ ผลกระทบด้านขวัญ ก� ำลังใจของข้าราชการอื่น ความพึงพอใจ ของประชาชนผู้รับบริการ ผลกระทบ จากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ยิ่งกว่านั้น ยัง มีต้นทุนค่าเสียโอกาส ซึ่งได้แก่ ความรู้ ที่ส่วนราชการต้องเสียไปจากบุคคลนั้น ภารกิจที่ยังท� ำไม่เสร็จที่ต้องหาคนมาสาน ต่อ ซึ่งจะต้องเสียเวลาเนิ่นนานขึ้น เป็นต้น (Cappelli, 2002) ในภาพรวม การน� ำหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการ รักษาและการใช้ประโยชน์จากบุคลากร ในหน่วยงานภาครัฐ สามารถพิจารณาได้ ดังนี้ ๑. หน่วยงานภาครัฐควรมีการ ศึกษาวิจัย วิเคราะห์ ปัจจัยที่ส่งเสริม ให้บุคคลคงอยู่ในวงราชการ และปัจจัย ใดที่เป็นสาเหตุท� ำให้บุคลากรต้องออก จากงานไปอยู่ที่อื่นแต่เนิ่น ๆ ซึ่งต้อง อาศัยเงื่อนไข ความรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ในการท� ำความ เข้าใจ และบริหารงานการรักษาและใช้ ประโยชน์จากบุคคลให้ไปในแนวทางที่ ถูกต้อง (เช่น ถ้ารู้สาเหตุหลักที่มีการออก จากงาน จะได้วางแนวทางในการสร้าง ภูมิคุ้มกันที่ดีแต่เนิ่น ๆ) ๒. หน่ ว ย ง านภ า ครัฐคว รมี นโยบายและแผนที่ชัดเจนในการอบรม พัฒนาข้าราชการ/พนักงาน ให้มีโอกาส ก้าวหน้าในอาชีพ มีข้อผูกพันในการ ท� ำงานระยะยาว และมีการส่งเสริมการ พัฒนาทักษะเพื่อสร้างความก้าวหน้า ซึ่ง ถือว่าเป็นแนวทางจูงใจเชิงบวกที่ท� ำให้ เกิดประโยชน์กับทางราชการมากยิ่งขึ้น นโยบายและแผนการพัฒนานี้ ควรจะต้อง เน้นหลักความเป็นธรรม ความเสมอภาค และความโปร่งใสด้วย เพื่อให้ได้รับความ เชื่อถือและการยอมรับจากข้าราชการ การ ด� ำเนินการตามข้อนี้ จะต้องใช้เงื่อนไข คุณธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงเข้ามาปรับใช้ ๓. หน่วยงานภาครัฐอาจท� ำการ ออกแบบวางระบบบริหารค่าตอบแทน/ สวัสดิการ และรางวัลที่เป็นธรรม เพื่อ กระตุ้ นให้ คนอยู่ ในราชการและท� ำ ประโยชน์ให้กับราชการ โดยเน้นการจ่าย ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่พอประมาณ ใกล้เคียงกับภาคเอกชนเท่าที่จะท� ำได้ แต่ ที่ส� ำคัญ ควรจะเน้นค่าตอบแทนที่จับต้อง ไม่ได้ เช่น โอกาสความก้าวหน้าในงาน การเรียนรู้งาน ได้รับรางวัลตอบแทน ยกย่องจากผลงานที่สร้ างให้กับส่วน ราชการ ความซื่อสัตย์สุจริต อุตสาหะ การอุทิศตนให้ทางราชการ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการน� ำเงื่อนไขคุณธรรม คุณลักษณะ ของความพอประมาณ การมีเหตุผล และ การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ๔. หน่ วยงานภาครัฐควรให้ ความส� ำคัญกับชีวิตส่วนตัว และชีวิต การท� ำงานของข้าราชการ โดยการให้การ สนับสนุนส่งเสริมให้ข้าราชการมีความ สมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัว และชีวิต การท� ำงานมากขึ้น มีความยืดหยุ่นใน เวลาและสถานที่ท� ำงาน (Holbeche, 2005 : 319-345) เช่น การท� ำงานผ่าน เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมากขึ้น (มีการ ท� ำงานที่บ้านได้ แต่ให้เวลาการท� ำงาน กับราชการมากกว่าปกติ) การท� ำงาน เสาร์ อาทิตย์ หรือการที่ต้องให้ข้าราชการ ท� ำงานเกินเวลาปกติของวัน ควรมีเท่าที่ จ� ำเป็น เพื่อให้ข้าราชการมีคุณภาพชีวิต ที่ดี มีโอกาสออกก� ำลังกายพักผ่อน รักษา สุขภาพ มีเวลาอยู่ กับครอบครัวตาม สมควร มิใช่เสียสละให้กับราชการจน เกิดความเสียหายกับชีวิตครอบครัว เกิด การเจ็บป่วยเนื่องจากตรากตร� ำ ซึ่งแทนที่ หน่วยงานภาครัฐจะได้ใช้ประโยชน์จาก ข้าราชการในระยะยาวและเต็มที่ ก็อาจจะ ใช้ประโยชน์ได้ชั่วระยะเวลาไม่นาน และ จะต้องมีภาระทางด้านค่าใช้จ่าย สวัสดิการ รักษาพยาบาล ฯลฯ ตามมาอีก ทั้งหมดนี้ ถือได้ว่าเป็นทางสายกลางในการด� ำรง ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี ความมีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี ซึ่งจะน� ำไปสู่ ความสมดุล และยั่งยืนของหน่วยงาน ความพร้อม ต่อการเปลี่ยนแปลง ก้าวทันต่อโลกยุค โลกาภิวัตน์ โปรดดู ภาพสรุปการน� ำปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการ รักษาและการใช้ประโยชน์จากบุคลากร ของหน่วยงานภาครัฐ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=