สำนักราชบัณฑิตยสภา
วรเดช จันทรศร วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ 525 ๔. การคัดเลือก การคัดเลือกเป็นกิจกรรมและ เป็นกระบวนการพิจารณาคัดเลือกบุคคล ที่มาสมัครให้ได้บุคคลที่ดีที่สุด โดยมีวิธี การต่าง ๆ เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การตรวจสอบประวัติภูมิหลัง การตรวจ สอบการอ้ างอิง ตลอดจนการตรวจ สุขภาพ (สมชาย, ๒๕๔๒ : ๑๑๒-๑๓๔) การน้ อมน� ำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ กับการ คัดเลือกบุคคลของหน่วยงานภาครัฐ สามารถพิจารณาได้ดังนี้ ๑. หน่วยงานภาครัฐควรคัดเลือก บุคคลที่มาสมัครด้วยความรอบคอบเพื่อ ประโยชน์ของทางราชการ เพราะการ คัดเลือกบุคคลที่มีทักษะไม่ถูกต้อง ไม่มี ความสามารถเพียงพอ จะไม่สามารถ ปฏิบัติงานให้กับทางราชการได้อย่าง มีประสิทธิภาพ การคัดเลือกจึงควรใช้ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คัดคน ที่เหมาะสมเป็นประโยชน์กับทางราชการ ไม่มีการรับคนหรือคัดเลือกคนตามระบบ อุปถัมภ์ หรือโดยไม่สุจริต ๒. หน่วยงานภาครัฐควรลงทุน ในการคัดเลือก โดยยึดหลักพอประมาณ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่ง หมายถึง ไม่ทุ่มเทใช้ค่าใช้จ่ายในการคัด เลือกมากจนเกินไป หรือให้ผู้สมัครต้อง เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากจนเกิดความเดือด ร้อน ๓. หน่วยงานภาครัฐควรใช้วิธี การคัดเลือกโดยวิธีต่าง ๆ เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์อย่างผสมผสาน และอย่าง ถูกต้องตามหลักวิชาการ ใช้แบบทดสอบ ที่มีความเที่ยงตรง (Validiry) เชื่อถือได้ (Reliability) ด� ำเนินการทดสอบด้วยความ ยุติธรรม ใช้รูปแบบการสัมภาษณ์ และ ด� ำเนินการสัมภาษณ์ให้ถูกต้องเป็นไปตาม มาตรฐาน เพื่อความเป็นธรรม โปร่งใส สุจริต รับผิดชอบ มีสัมฤทธิผล สามารถ คาดคะเนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในอนาคตของผู้ถูกทดสอบและผู้เข้ารับ การสัมภาษณ์ได้ การด� ำเนินการในข้อนี้ ได้อย่างเหมาะสม สามารถน� ำเงื่อนไข ความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็น แนวทางได้ ๔. หน่วยงานภาครัฐควรมีการ ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการคัด เลือกโดยใช้ความละเอียดรอบคอบ เพื่อ ให้เกิดความถูกต้องตามกฎหมายและ ป้องกันความไม่รอบคอบในการจ้างงาน เช่น มีการตรวจสอบการอ้างอิงจากใบ สมัครของผู้สมัคร และตรวจสอบจาก นายจ้างเอง ตรวจสอบประวัติการก่อ อาชญากรรมหรือการต้องโทษ ฯลฯ การ ด� ำเนินการในข้อนี้ถือได้ว่าเป็นการน� ำ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม และ คุณลักษณะของการสร้างภูมิคุ้มกันใน ตัวเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงเข้ามาใช้เป็นแนวทางได้ โปรดพิจารณาแผนภาพสรุป การน� ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามข้อ ๑-๔ มาปรับใช้ ภาพที่ ๓ การสรรหาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาและด� ำเนินการในการสรรหา ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ ทุกขั้นตอน เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อุตสาหะ มีสติปัญญา แบ่งปัน พอประมาณ มีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีภายใน ส่วนราชการ การสรรหาทั้งจากวิธีการภายในและ ภายนอกตามเหตุผลความจ� ำเป็นและ เพื่อประโยชน์ทางราชการ การสรรหาโดยโปร่งใส เสมอภาค เป็นธรรม สุจริต รับผิดชอบ และตรวจสอบได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=