สำนักราชบัณฑิตยสภา
วรเดช จันทรศร วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ 523 การศึกษาวิจัย คาดการณ์ หรือพยากรณ์ ความต้องการบุคคล และลักษณะความ สามารถของบุคคลในอนาคตประกอบ กับการศึกษาประมาณการ แรงงานที่มี อยู่ในตลาด โดยวิเคราะห์จากสถานะ ของทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน และ ทรัพยากรที่จะมีให้ใช้ในอนาคต โดยมี การเผื่อส่วนที่เสียเปล่าไว้ด้วย เพื่อความ รอบรู้ และรอบคอบตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และหากพบจ� ำนวน ของก� ำลังที่อาจจะขาดหายไป หน่วยงาน ภาครัฐก็อาจจะต้องเตรียมแผนรองรับ โดยการเลื่อนต� ำแหน่งจากบุคคลภายใน องค์การ การให้การฝึกอบรม หรือการ สรรหาจากบุคคลภายนอกแล้วแต่กรณี เป็นการด� ำเนินการด้วยความระมัดระวัง ตามเงื่อนไขความรู้ของหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย ๓. หน่วยงานภาครัฐอาจน� ำการ วางแผนทรัพยากรบุคคลมาเป็นเงื่อนไข ของการสร้างโอกาสการจ้างงานที่เท่า เทียมกัน โดยไม่ค� ำนึงถึงเพศ ฐานะ หรือ ภูมิล� ำเนา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการน� ำเงื่อนไขคุณธรรมตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาปรับ ใช้ อีกทั้งการสร้างความเสมอภาคเท่า เทียมกัน ยังจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ ดี ตามคุณลักษณะของหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงให้กับหน่วยงานภาครัฐ อีกด้วย ๔. ในอีกมุมหนึ่ง การวางแผน ทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานภาครัฐ อาจจะได้ข้อค้นพบว่า เมื่อเปรียบเทียบ จ� ำนวนข้าราชการที่ต้องการในอนาคตกับ จ� ำนวนที่มีอยู่แล้ว จ� ำนวนคนที่มีอยู่มีมาก เกินไป และหากเพิ่มจ� ำนวนต่อไปก็จะ เป็นภาระต่องบประมาณและต่อประเทศ ในอนาคต หน่วยงานภาครัฐอาจจะมีการ ด� ำเนินการ ขอให้มีการเกษียณอายุก่อน เวลา การลดจ� ำนวนต� ำแหน่ง การเลิกจ้าง พนักงาน ในแต่ละกรณีถือได้ว่าเป็นการ น� ำคุณลักษณะพอประมาณ มีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้โดยอาศัยการ ตัดสินใจบนเงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไข คุณธรรม ตามข้อ ๑-๔ สามารถสรุปเป็นแผน ภาพการน� ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาปรับใช้ได้ดังนี้ ภาพที่ ๒ การวางแผนทรัพยากรบุคคลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวางแผนทรัพยากรบุคคล การศึกษาวิจัยจ� ำนวนบุคคล และความสามารถที่ต้องการ เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้) เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ของส่วนราชการ เงื่อนไขความรู้ (รอบคอบ/ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง การเตรียมแผนรองรับก� ำลัง ที่อาจจะขาดหายไป การสร้างโอกาสการจ้างงาน ที่เท่าเทียมกัน การลดจ� ำนวนข้าราชการ ที่มากเกินไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=