สำนักราชบัณฑิตยสภา
วรเดช จันทรศร วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ 521 ๑. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้น� ำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและ ประชาชนโดยทั่วไปดังนี้(ส� ำนักงานกปร., ๒๕๕๐ : ๕) เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ชี้ถึงแนวการด� ำรงอยู่ และปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ ด� ำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึง ความจ� ำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันใน ตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการน� ำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ ในการวางแผนและการด� ำเนินการทุก ขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริม สร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดย เฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและ นักธุรกิจในทุกระดับให้มีจิตส� ำนึกใน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มี ความรอบรู้ที่เหมาะสม ด� ำเนินชีวิตด้วย ความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและ พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญา ที่ชี้ถึงแนวทางการด� ำรงอยู่และปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ ด� ำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุค โลกาภิวัตน์ โดยนิยามข้ างต้น การบริหาร ทรัพยากรบุคคลภาครัฐตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการด� ำเนิน การบริหารจัดการ โดยยึดทางสายกลาง ตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลาง มีจุดมุ่งหมายของการพัฒนา มีคุณลักษณะ ๓ ประการที่สัมพันธ์กัน และมีเงื่อนไข เพื่อให้การด� ำเนินการเป็นไปในทางสาย กลางอยู่ในระดับความพอเพียง รายละเอียด จุดหมายของการ พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงก็คือ การพัฒนาที่มุ่งไปสู่ความ สมดุล มั่นคง และยั่งยืน พร้อมต่อการ เปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งทางด้านชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ วิทยาการ และเทคโนโลยี ความพอเพียงประกอบไปด้วย คุณลักษณะ ๓ ประการที่สัมพันธ์ซึ่งกัน และกันคือ ความพอประมาณ ความมี เหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ทั้งนี้ การตัดสินใจ การด� ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการบริหารจัดการให้เป็นไปใน ทางสายกลาง อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยเงื่อนไขของความรู้และเงื่อนไข ของคุณธรรมเป็นพื้นฐาน โดยเงื่อนไข ของความรู้ ได้แก่ ความรอบรู้ในวิชาการ ประสบการณ์ หรือองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน มีความรอบคอบที่จะน� ำ ความรู้มาพิจารณาอย่างเป็นบูรณาการ เพื่อประกอบการวางแผนและการน� ำไป สู่การปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง และ เงื่อนไขของคุณธรรม ได้แก่ การมีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยัน อดทน มีความ เพียร มีสติ มีปัญญา แบ่งปัน ด� ำเนินชีวิต ไปในทางที่ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ ๒. การวางแผนทรัพยากรบุคคล การวางแผนทรัพยากรบุคคล เป็นกิจกรรมและกระบวนการในการ คาดคะเนความต้องการของหน่วยงาน เป็นการล่วงหน้าว่าต้องการบุคคลลักษณะ ใด จ� ำนวนเท่าใด และเมื่อใด (พยอม, ๒๕๔๕ : ๖๒ ; Armstrong, 2000 : 46) ตลอดจนเป็นการก� ำหนดแนวทางในการ ด� ำเนินการเพื่อให้ได้มาและใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วย งานในภาพรวมต่อไป การน้ อมน� ำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ กับการ วางแผนทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการ สามารถพิจารณาได้ดังนี้ ๑. หน่ วยงานภาครัฐควรน� ำ เงื่อนไขความรู้ ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาประกอบการวางแผน ทรัพยากรบุคคล เพื่อศึกษาวิจัย ตอบ ค� ำถาม และตัดสินใจให้ได้ว่าต้องการ บุคคลจ� ำนวนเท่าใด ต้องการแบบใด เพื่อที่จะได้ท� ำให้การท� ำงานขององค์การ บรรลุเป้าหมาย ๒. การน� ำเงื่อนไขความรู้ มา ปรับใช้ อาจน� ำวิธีการวางแผนทรัพยากร บุคคลที่ถูกต้องสมบูรณ์มาปรับใช้ โดย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=