สำนักราชบัณฑิตยสภา
520 การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 อนึ่ง นอกจากการยกย่องและ ยอมรับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน ระดับโลกแล้ว ในระดับประเทศ รัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยู่หัวยัง ได้น้อมอัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปบรรจุใช้เป็นปรัชญาน� ำทาง ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ทั้งในฉบับที่ ๙ และฉบับที่ ๑๐ อีก ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๗๘(๑) ยังก� ำหนดให้ “รัฐต้องด� ำเนินการตาม แนวนโยบายด้านการบริหารราชการ แผ่นดิน ให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่งคงของประเทศ อย่างยั่งยืนโดยต้องส่งเสริมการด� ำเนินการ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและค� ำนึง ถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพ รวมเป็นส� ำคัญ” นอกจากนี้รัฐบาลยังมี การก� ำหนดเป็นประเด็นวาระแห่งชาติ ในการน้อมน� ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงมาปรับใช้ เพื่อสร้างการบริหาร ราชการแผ่ นดินที่ประชาชนเชื่อมั่น ศรัทธา เป็นหลักการส� ำคัญที่จะช่วยวาง รากฐานการบริหารราชการอย่างสุจริต เป็นธรรม และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ การ น� ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ของ ภาครัฐยังมีน้อยมาก และขาดแนวทางที่ เป็นรูปธรรมที่สามารถส่งประโยชน์ได้ อย่างทั่วถึงและยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้นใน เชิงวิชาการ การน� ำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ บริหารจัดการภาครัฐยังแทบจะไม่มีการ ศึกษาค้นคว้ามาก่อนเลย บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ ในการน� ำเสนอแนวทางการน้ อมน� ำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมา ประยุกต์ใช้ในการจัดการภาครัฐในส่วน ที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลใน ด้านการสรรหา พัฒนารักษาไว้ และใช้ ประโยชน์ และเพื่อที่จะให้การบริหาร ทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานภาครัฐ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ที่ส� ำคัญ ได้ คือ เพื่อจัดหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมกับงาน เพื่อพัฒนาทักษะและ ความสามารถ เพื่อรักษาพนักงานที่มี ความสามารถให้คงอยู่นานที่สุด เพื่อใช้ ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (สมชาย, ๒๕๔๒ : ๑๐) ท� ำให้การบริหาร ราชการของหน่วยงานภาครัฐโดยรวมมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดประโยชน์ ต่อสาธารณะ และเป็นกลไกส� ำคัญในการ พัฒนาประเทศ ในสภาพความเป็นจริง เราคง ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ า การบริหาร ทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานภาครัฐ บางแห่งยังคงเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในบาง ประการ เช่น มีการรับและบรรจุคน ด้วยความไม่เป็นธรรม บุคคลที่ถูกบรรจุ ไม่ เหมาะสมกับงาน มีอัตราการออก จากงานสูง มีการค้นพบว่า ข้าราชการ/ พนักงาน/ลูกจ้าง ไม่ตั้งใจที่จะท� ำงานให้ ดีที่สุด ผู้บริหารไม่ให้ความเป็นธรรม ในการแต่งตั้ง โยกย้าย มีการฟ้องร้อง ทั้งทางศาลปกครอง และศาลยุติธรรม บางส่วนราชการไม่มีการฝึกอบรมและ พัฒนา ไม่มีการแต่งตั้งข้าราชการตาม ช่วงเวลาที่ควรจะเป็น ซึ่งในภาพรวม เป็นการกระท� ำที่ไม่มีความเป็นธรรม เกิดความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างผู้ บริหารกับผู้ใต้บังคับบัญชา ก่อให้เกิดผล เสียต่อประสิทธิภาพของหน่วยงาน และ ประโยชน์ต่อสาธารณะโดยรวม การจะหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดข้าง ต้น และสามารถพัฒนาหน่วยงานภาครัฐ ไปในทิศทางที่มั่นคง ก้าวหน้า และยั่งยืน ผู้บริหารจึงควรที่จะมีเหตุผลใช้เงื่อนไข ความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ในการ บริหารงาน กระท� ำในสิ่งที่ถูกต้อง ได้แก่ มีการวางแผนทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสม มีการสรรหาและการคัดเลือกเพื่อให้ได้ คนที่ต้องการและเหมาะสมกับวัฒนธรรม ขององค์การ มีการฝึกอบรมและพัฒนา ตลอดจนการรักษาและใช้ประโยชน์จาก บุคคล การเสนอเรื่องในบทความนี้ ได้ แบ่งการน� ำเสนอออกเป็น ๖ ส่วน ส่วนที่ ๑ เป็ นกา รน� ำ เ สนอหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ส่วนที่ ๒ เป็นการน� ำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับ ใช้กับการวางแผนทรัพยากรบุคคลใน หน่วยงานภาครัฐ ส่วนที่ ๓ เป็นการน� ำ มาปรับใช้กับการสรรหาบุคคลในหน่วย งานภาครัฐ ส่วนที่ ๔ เป็นการน� ำมาปรับ ใช้กับการคัดเลือกบุคคลของหน่วยงาน ภาครัฐ ส่วนที่ ๕ เป็นการน� ำมาปรับใช้ กับการฝึกอบรมและการพัฒนาของหน่วย งานภาครัฐ ส่วนที่ ๖ เป็นการน� ำมาปรับ ใช้กับการรักษาและการใช้ประโยชน์จาก บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ และส่วน ที่ ๗ เป็นการสรุปความเกี่ยวกับการน� ำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับ ใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=