สำนักราชบัณฑิตยสภา

สุวิมล ตั้งประเสริฐ 627 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ การและหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ควรส่งเสริมรูปแบบของกิจกรรมการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น รูปแบบเกษตร ผสมผสาน การท� ำนา สวนผลไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ สวนเกษตรโครงการหลวง โฮมสเตย์ โดยสร้างความร่วมมือระหว่าง นักท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผู้ประกอบการ และหน่วยงานช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความ ยั่งยืนตลอดไป ๔. การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เชิงเกษตร การประชาสัมพันธ์ ของ หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ผู้ประกอบการ ด้วยการผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่ง เ ป็ นสื่อหลักของประ เ ทศ เ ช่ น วิทยุกร ะ จ า ย เ สีย ง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ต่าง ๆ จะมีส่วนส� ำคัญที่ท� ำให้การท่องเที่ยว เชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมาขยายตัว ได้ และท� ำให้นักท่องเที่ยวเชิงเกษตรเข้า ถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสดีที่จะท� ำให้ผู้ประกอบ การสามารถสร้างสื่อต่าง ๆ ช่วยการ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ อันจะส่งผล ส� ำเร็จต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ๕. ก า รน� ำ ปรัชญา เ ศรษฐกิจ พอเพียงไปประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยว เชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา โดย ให้ผู้ประกอบการน� ำปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้ในการปฏิบัติตนและธุรกิจ การท่องเที่ยวตั้งอยู่บนพื้นฐานบนความ พอดี ตั้งอยู่ในทางสายกลาง มีการตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล มีความเข้มแข็ง มีความ ยั่งยืนโดยค� ำนึงถึงความพอประมาณ ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ขณะ เดียวกันต้องมีเหตุผลในการกระท� ำและ มีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อเตรียมพร้อม รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยอาศัยความรู้และ คุณธรรม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความ อดทน ความเพียร สติปัญญา ความ รอบคอบ มาประกอบการวางแผน ตัดสิน ใจ และการกระท� ำต่าง ๆ ในการท� ำธุรกิจ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ เกิดความ มั่นคงและยั่งยืน กิตติกรรมประกาศ บทความนี้ปรับปรุงมาจากรายงาน วิจัยเรื่องการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิง เกษตรในจังหวัดนครราชสีมาอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากส� ำนัก บริหารโครงการส่ งเสริมการวิจัยใน อุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัย แห่งชาติ ส� ำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา ประจ� ำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ในการนี้ผู้ วิจัยขอขอบพระคุณ รอง ศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ หิรัญรักษ์ ที่ ได้ให้ค� ำแนะน� ำที่เป็นประโยชน์ในการ เขียนบทความในครั้งนี้ และขอขอบ พระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เศาวนิต เศาณานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา และผู้บริหารทุกท่าน ที่ได้สนับสนุนการวิจัยครั้งนี้จนส� ำเร็จ ลุล่วงด้วยดี เอกสารอ้างอิง เครือซีเมนต์ไทย. เครือซีเมนต์ไทย (SCG) กับการด� ำเนินธุรกิจตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จ� ำกัด (มหาชน) ; ๒๕๕๒. ชัยวุฒิ ชัยพันธ์. การจัดการเกษตรทรัพยากร ธรรมชาติและการท่องเที่ยว. กรุงเทพ- มหานคร : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; ๒๕๔๒. นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพ- มหานคร : ธรรกมลการพิมพ์; ๒๕๔๙. ร� ำไพพรรณ แก้วสุริยะ. “การบริหารจัดการ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร” เอกสาร ประกอบการบรรยายในการฝึกอบรม หลักสูตรการพัฒนาและส่ งเสริม การท่องเที่ยวเชิงเกษตรปี ๒๕๔๗ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗, ณ โรงแรม สองพันบุรี อ� ำเภอเมืองฯ จังหวัด สุพรรณบุรี; ๒๕๔๗. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย. รายงานเบื้องต้นการ ศึกษาเพื่อก� ำหนดแนวทางการพัฒนา และจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่ ง ประเทศไทย; ๒๕๔๒. . รายงานขั้นสุดท้ายการศึกษา เพื่อก� ำหนดแนวทางการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism). กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่ ง ประเทศไทย; ๒๕๔๓. สุขสรรค์ กันตะบุตร. การพัฒนาแนวทาง ปฏิบัติในการด� ำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : ส� ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย; ๒๕๕๓.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=