สำนักราชบัณฑิตยสภา
สุวิมล ตั้งประเสริฐ 625 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ๒. การจัดท� ำกลยุทธ์การพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งประกอบด้วย ๒.๑ กลยุทธ์การพัฒนาด้าน บุคลากร ผู้ประกอบการและสมาชิก ทุกคนในกลุ่มร่วมกันวางแผนพัฒนา กิจกรรมของกลุ่มอย่างเป็นระบบ เพื่อ ให้ด� ำเนินการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว เชิงเกษตรภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นไปอย่ างมีประสิทธิภาพ มีการเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ และสมาชิกทุกคน โดยให้หน่วยงาน ราชการในท้องถิ่นมาแนะน� ำให้ความ รู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติท� ำให้ผู้ ประกอบการและสมาชิกสามารถผลิต สินค้าทางการเกษตร และด� ำเนินการจัด รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้มาตรฐาน ซึ่งจะเป็นการสร้างจิตส� ำนึก ที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการและสมาชิกใน การผลิตสินค้าทางการเกษตรและการจัด รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่มีคุณภาพ ราคายุติธรรม ค� ำนึงถึงผล ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักในการช่วย กันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน ๒.๒ กลยุทธ์การพัฒนาด้าน การเงิน ผู้ประกอบการควรบริหารการเงิน ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการน� ำ เงินที่เหลืออยู่ไปใช้ในการลงทุนเพื่อเพิ่ม มูลค่าให้กับตนเอง ไม่ควรกู้ยืมเงินจาก แหล่งต่าง ๆ ที่ขาดความน่าเชื่อถือ และ ที่ส� ำคัญคือไม่ควรก่อหนี้สิน ผู้ประกอบ การควรมีการจัดท� ำระบบบัญชีอย่างเป็น รูปธรรม มีการเดินบัญชีที่ธนาคารอย่าง สม�่ ำเสมอแทนที่จะถือเงินสดไว้ในมือ ประการส� ำคัญคือ ผู้ประกอบการไม่ควร ถือโอกาสขึ้นราคาสินค้าหรือลดปริมาณ การจ� ำหน่ายสินค้ากับกลุ่มนักท่องเที่ยว เชิงเกษตร เพื่อจะได้สร้างภาพลักษณ์ ในการประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวเชิง เกษตรที่ดีภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ๒.๓ กลยุทธ์การพัฒนาด้าน การผลิต ผู้ประกอบการควรบริหาร จัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการ ใช้ทรัพยากรที่อยู่อย่างเต็มที่ โดยวิธี ด� ำเนินงานของผู้น� ำและสมาชิกกลุ่มร่วม กันในการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้ มีความแตกต่างของสินค้า การผลิตโดย ใช้วัตถุดิบของท้องถิ่นและการลดต้นทุน วัตถุดิบในราคาที่เป็นธรรมแก่สมาชิก เพื่อให้การพัฒนาธุรกิจมีความเข้มแข็ง ตลอดไป ๒.๔ กลยุทธ์การพัฒนาด้าน การตลาด ผู้ประกอบการควรบริหาร จัดการด้วยการสร้างจุดขายจากความแตก ต่างของสินค้า การสร้างช่องทางการตลาด โดยสมาชิกกลุ่มต้องเพิ่มกลยุทธ์การสร้าง ยี่ห้อและตราสินค้าให้เกิดความน่าเชื่อถือ ในตัวสินค้า และสร้างเครือข่ายความ สัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น ๆ โดยผ่าน การประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้การใช้ ข้อมูลทางการตลาดที่เป็นปัจจุบันจะเป็น ประโยชน์ต่อการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ ให้เป็นตลาดที่มีคุณภาพ ซึ่งจะท� ำให้ เกิดความน่าเชื่อถือและสร้างชื่อเสียงให้ กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป ๓. การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว เชิงเกษตร ส� ำหรับการสร้างเครือข่าย ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัด นครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงทั้ง ๕ แห่ง คือ ๑) ไร่องุ่นครูเสน่ห์ อ� ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ๒) สวนเขาดินเฉลิมพระเกียรติ อ� ำเภอเมือง นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ๓) บุไทรโฮมสเตย์ อ� ำเภอวังน�้ ำเขียว จังหวัด นครราชสีมา ๔) สวนผักหวานป่า อ� ำเภอ โชคชัยจังหวัดนครราชสีมา๕)สวนเกษตร ผสมผสาน อ� ำเภอขามสะแกแสง จังหวัด นครราชสีมา ซึ่งจากผลของการวิจัยก่อให้ เกิดประโยชน์อย่างมากในเชิงสาธารณะ เพราะก่อให้เกิดความร่วมมือกันของ พื้นที่ในระดับอ� ำเภออย่างเป็นรูปธรรม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน อันจะ มีผลให้เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีความเอื้ออาทรต่อกันในระยะยาว ท� ำให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัด นครราชสีมาทั้ง ๕ แห่งได้มีการสร้าง เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันน� ำไป สู่การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อย่างยั่งยืนได้ กลยุทธ์การสร้างเครือข่าย การท่ อง เที่ยว เ ชิง เ กษตรในจังหวัด นครราชสีมา ๔ ด้านคือ ๑) ด้านการ พัฒนาบุคลากร ๒) ด้านการเงิน ๓) ด้านการผลิต และ ๔) ด้านการตลาด ผล ดังกล่าวจะท� ำให้เครือข่ายการท่องเที่ยว เชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมาเกิด ความรัก ความเข้าใจ ความสามัคคีซึ่งกัน และกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง ยั่งยืน ซึ่งในที่สุดเครือข่ายการท่องเที่ยว เชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมาจะเกิด ความยั่งยืนในการด� ำเนินงานในรูปแบบ เครือข่าย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=