สำนักราชบัณฑิตยสภา
การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา อย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 624 สรุป จากการศึกษาการจัดการแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดนครราชสีมา อย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงดังกล่าวข้างต้นได้ข้อสรุปถึงการ จัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่าง ยั่งยืนภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ ๑. การจัดท� ำระบบฐานข้ อมูล การท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่ งท่อง เที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา ทั้ง ๕ แห่ง ได้จัดท� ำระบบฐานข้อมูล การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อพัฒนาใน พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยบูรณาการ กับกลไกกา ร เ รียนกา รสอนในมหา วิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งผล การวิจัยดังกล่าวท� ำให้ทราบถึงระบบ ฐานข้ อมูลการท่ องเที่ยวเชิงเกษตร อันประกอบด้วยฐานข้อมูลการท่องเที่ยว จ� ำนวน ๘ ประเด็น คือ ๑) สถานที่ตั้ง ๒) ผู้ประกอบการ ๓) กิจกรรมการท่องเที่ยว ๔) ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว ๕) สินค้าของฝากและของที่ระลึก ๖) สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ๗) แผนที่การ เดินทาง ๘) การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา ดัง แสดงในตารางที่ ๒ จุดแข็ง (Strengths) = S ๑. ผู้ประกอบการมีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีจิตบริการที่ดี และ มีคุณธรรม ๒. มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่หลากหลาย น่าสนใจ และ ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ๓. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีสิ่งอ� ำนวยความสะดวกหลาย ประการ สะอาด ปลอดภัย และค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก ๔. สมาชิกกลุ่มให้ความส� ำคัญกับนักท่องเที่ยวโดยให้การ ต้อนรับและบริการด้วยความอบอุ่น โอกาส (Opportunities) = O ๑. ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน ๒. สถาบันการศึกษามีการสื่อสาร และประสานความร่วมมือ กับแหล่งท่องเที่ยวท� ำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ๓. การคมนาคมในการเดินทางมาท่องเที่ยวมีความสะดวก และปลอดภัย จุดอ่อน (Weaknesses) = W ๑. ขาดการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องและ ไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ๒. สมาชิกกลุ่มมีจ� ำนวนน้อยขาดองค์ความรู้ ต้องพึ่งพาผู้น� ำ ๓. ภูมิทัศน์โดยรอบของแหล่งท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการพัฒนา ๔. แหล่งท่องเที่ยว ยังมีจุดบริการน้อย เช่น ร้านอาหาร ที่พัก จุดชมวิว ข้อจ� ำกัด (Threats) = T ๑. ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐ อย่างต่อเนื่อง ๒. นโยบายของรัฐขาดความชัดเจน ๓. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยวมีจ� ำกัด เนื่องจาก ฤดูฝนท� ำให้ท่องเที่ยวไม่ได้ ๔. จุดท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ของสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ยังมีน้อย และเส้นทางคมนาคมของแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตร ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตารางที่ ๒ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=