สำนักราชบัณฑิตยสภา

วรเดช จันทรศร วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ 519 * ผู้เขียนขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.อิสระ สุวรรณผล ผู้อ� ำนวยการสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ ส� ำนักงาน ก.พ. ที่ได้อนุญาตให้น� ำ เนื้อหาในรายงานการวิจัย เรื่อง “การน้อมน� ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในการบริหารราชการ” ซึ่งเป็นรายงานการวิจัยที่ผู้เขียนจัดท� ำให้สถาบันฯ มาตีพิมพ์ ส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยนี้ผู้เขียนได้น� ำเสนอในที่ประชุมส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งน� ำเสนอแนวทางการน้อมน� ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการ บริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐใน ๕ ด้าน ซึ่งได้แก่ (๑) การวางแผนก� ำลังคน (๒) การสรรหาก� ำลังคน (๓) การคัดเลือก (๔) การฝึกอบรมและการพัฒนา และ (๕) การรักษาและการใช้ประโยชน์จากบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้แก่ ประชาชนไทยเป็นแนวทางการด� ำรงชีวิต เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและ ยั่งยืน สาระหลักที่ส� ำคัญ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งชี้ให้เห็นถึงแนวทางการด� ำรงอยู่และปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับชาติทั้งในการพัฒนาและการบริหาร ประเทศให้ด� ำเนินไปในทางสายกลาง เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นความสมดุล ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความส� ำนึกในคุณธรรม การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอที่จะต่อต้านและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จาก กระแสโลกาภิวัตน์ วรเดช จันทรศร ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน โครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชด� ำริต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชนบทกว่า ๓,๐๐๐ โครงการ ได้ยึดถือและน� ำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ส่งผล ให้เกิดประโยชน์ต่อพสกนิกรทั้งแผ่นดิน ส่ งผลต่อการสร้ างสรรค์ความรู้ และ นวัตกรรมที่เกิดต่อการพัฒนาชนบทและ พัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน และ หลายโอกาส อาทิ โครงการที่มุ่งเน้น การเกษตรขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีที่ เหมาะสม โครงการที่มีการอนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน�้ ำอย่างยั่งยืน โครงการป้องกันและบรรเทาความเดือด ร้อนจากน�้ ำท่วมและภัยแล้ง นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การ สหประชาชาติในขณะนั้นได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลHuman Development Lifetime Achievement Award ซึ่งเป็นรางวัลของ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และได้กล่าว สดุดีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสถวายรางวัล ความส� ำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระองค์ และในนามสหประชาชาติยัง ได้ตั้งปณิธานที่จะส่งเสริมประสบการณ์ และน� ำแนวทางการปฏิบัติในการน� ำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันทรง คุณค่าอย่างหาที่สุดมิได้ของพระองค์ มาช่วยจุดประกายแนวคิดในปรัชญา ดังกล่าวสู่นานาประเทศต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=