สำนักราชบัณฑิตยสภา

การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา อย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 614 ส่วนที่ ๒ แนวคิดเกี่ยวกับการ จัดการ การสร้างฐานรากที่แข็งแรงให้แก่ ชุมชนในการด� ำเนินธุรกิจจ� ำเป็นอย่างยิ่ง ที่ธุรกิจชุมชนจะต้องมีการบริหารจัดการ ที่เข้มแข็งตั้งแต่กระบวนการคิด การ จัดการผลผลิต และการใช้ทรัพยากร ทุกขั้นตอนโดยใช้ภูมิปัญญาของชุมชน เอง จะเห็นว่า การสร้างความเข้มแข็งของ ธุรกิจชุมชนมีความส� ำคัญต่อความอยู่รอด และการเจริญเติบโตของชุมชน ดังนั้น จึงต้องใช้กลยุทธ์การพัฒนาที่จะน� ำไปสู่ ความส� ำเร็จได้ ซึ่งกลยุทธ์การพัฒนาใน ที่นี้จะหมายถึงวิธีการที่ผู้น� ำและสมาชิก กลุ่มร่วมกันในการด� ำเนินงานพัฒนา ธุรกิจชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งเพื่อให้ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ดีขึ้น โดยมีการด� ำเนินงานพัฒนา ๔ ด้าน ๑) กลยุทธ์การพัฒนาด้านการพัฒนา บุคลากร ๒) กลยุทธ์การพัฒนาด้าน การเงิน ๓) กลยุทธ์การพัฒนาด้านการ ผลิต ๔) กลยุทธ์การพัฒนาด้านการตลาด ดังมีรายละเอียดดังนี้ (นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตาวัตร. ๒๕๔๙ : ๑๐๖-๑๑๗) ประกอบด้วย กลยุทธ์ ๔ ด้าน คือ ๑. กลยุทธ์การพัฒนาด้ านการ พัฒนาบุคลากร หมายถึง วิธีการในการ ด� ำเนินงานของผู้น� ำและสมาชิกกลุ่ม ร่วมกัน โดยส่งเสริมบุคลากรที่ปฏิบัติงาน อยู่แล้ว ให้มีความรู้ ความช� ำนาญ ความ สามารถประสบการณ์ และมีทัศนคติ ในทางที่ดี เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพจนก่อให้เกิดความ ส� ำเร็จแก่องค์กร ๒. กลยุทธ์การพัฒนาด้านการเงิน หมายถึง วิธีการในการด� ำเนินงานของ ผู้น� ำและสมาชิกกลุ่มร่วมกันควบคุมการ เงินด้วยความโปร่งใส รวมทั้งการระดม ทุนจากภายนอกและภายในชุมชน เพื่อ ให้ธุรกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง และบรรลุ ความส� ำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๓. กลยุทธ์การพัฒนาด้ านการ ผลิต หมายถึง วิธีการในการด� ำเนินงาน ของผู้น� ำและสมาชิกกลุ่มร่วมกันในการ พัฒนาคุณภาพของผลผลิตให้มีความ แตกต่างของสินค้า การผลิตโดยใช้วัตถุดิบ ท้องถิ่น และการลดต้นทุนวัตถุดิบใน ราคาที่เป็นธรรมแก่สมาชิก เพื่อให้การ พัฒนาธุรกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง และ บรรลุความส� ำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๔. กลยุทธ์การพัฒนาด้ านการ ตลาด หมายถึง วิธีการในการด� ำเนินงาน ของผู้น� ำและสมาชิกกลุ่มร่วมกันในการ สร้างจุดขายจากความแตกต่างของสินค้า การสร้างช่องทางการตลาด โดยอาศัย เครือข่ายของกลุ่ม และการใช้ข้อมูล ทางการตลาดที่เป็นปัจจัยในการเจรจา ต่อรองทางธุรกิจให้เป็นตลาดที่มีคุณภาพ เพื่อให้ธุรกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและ บรรลุความส� ำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนที่ ๓ แนวคิดเกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (๒๕๔๓ : ๕-๖) ได้ ให้ นิยามโดยใช้ หลักองค์ ประกอบของการท่องเที่ยวไว้ว่า การ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรคือการท่องเที่ยวที่มี กิจกรรมหลักด้านการเกษตรที่สามารถ ดึงดูดและเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว โดยมีการบริการจัดไว้ให้รองรับ เพื่อตอบ สนองตามมาตรฐานความต้องการของ นักท่องเที่ยวให้ได้รับความรู้และความ เพลิดเพลิน โฮลินฮอยซ์ (Holinhoij. 1996 : 42-43) ให้ความเห็นว่า การท่องเที่ยว เชิงเกษตรเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบ ใหม่ที่น่าสนใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพ แวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ของประชาชนในชนบท เป็นจุดดึงดูด ให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสสัมผัส และมี ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต กับผู้คนใน ชนบทในฐานะแขกหรือผู้มาเยือนในช่วง นั้น ๆ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไม่ใช่ การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ทางทะเล แหล่งประวัติศาสตร์ ศาสนา การประกอบธุรกิจ และการเยี่ยมญาติ จากแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรหมายถึงการเดิน ทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรม สวนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์ และเลี้ยงสัตว์ โดยมีการด� ำเนินกิจการ ให้บริการด้านความรู้ ประสบการณ์ใน การร่วมกิจกรรมการเกษตร ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต และการให้บริการ สถานที่พักแก่นักท่องเที่ยว บนพื้นฐาน ความรับผิดชอบ มีจิตส� ำนึกต่อการรักษา สภาพแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (๒๕๔๒ : ๓-๑๓) ได้แบ่งองค์ประกอบของการท่อง เที่ยวเชิงเกษตรที่ส� ำคัญไว้ ๓ ส่วน คือ ๑. ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิง เกษตรคือทรัพยากรที่ใช้ผลิตผลิตผล ทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=