สำนักราชบัณฑิตยสภา

สุวิมล ตั้งประเสริฐ 613 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ ไม่น� ำเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงาน ยกเว้นในกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อผลิตภัณฑ์ ๔. มีขนาดการผลิตที่สอดคล้อง กับความสามารถในการบริหารจัดการ ๕. ไม่โลภจนเกินไป และไม่เน้น ก� ำไรระยะสั้นเป็นหลัก ๖. ซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบ การไม่ เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคและ ไม่เอารัดเอาเปรียบแรงงาน หรือลูกค้า ตลอดจนไม่เอารัดเอาเปรียบผู้จ� ำหน่าย วัตถุดิบ ๗. เน้นการกระจายความเสี่ยงจาก การมีผลิตภัณฑ์หลากหลายและ/หรือมี ความสามารถในการปรับเปลี่ยนผลผลิต ได้ง่าย ๘. เน้นการบริหารความเสี่ยงต�่ ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ก่อหนี้จนเกินขีด ความสามารถในการบริหารจัดการ ๙. เน้ นการตอบสนองตลาด ภายในท้องถิ่น ภูมิภาค ตลาดภายใน ประเทศและตลาดต่างประเทศ ตามล� ำดับ เป็นหลัก สุขสรรค์ กันทะบุตร (๒๕๕๓ : ๓) ได้ก� ำหนดแนวทางในการปฏิบัติของ องค์กรธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงได้ ๑๐ แนวทาง อันเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติต่อธุรกิจใดที่ต้องการสร้าง ความส� ำเร็จอย่างยั่งยืนดังต่อไปนี้ ๑. มองการณ์ไกลในการบริหาร จัดการและตัดสินใจในเชิงนโยบาย ไม่ มุ่งหวังก� ำไรเพียงในระยะสั้น แต่คิดถึง ผลกระทบในระยะยาว ๒. ให้คุณค่าแก่พนักงานอย่ าง จริงใจและพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงการให้พนักงานออกแม้ในยาม ทุกข์ยากทางเศรษฐกิจ เพราะพนักงาน คือสินทรัพย์ที่พัฒนาได้ขององค์กร ๓. จริงใจและหวังดีต่อผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียของธุรกิจทั้งหมด รวมถึง ประชากรและสังคมในอนาคต ๔. ให้ความส� ำคัญต่อการพัฒนา นวัตกรรมทั่วทั้งองค์กร ไม่ใช่เฉพาะใน ผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการอย่างเดียว ๕. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิ ภาพและประสิทธิผล ๖. ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีที่มี ประสิทธิภาพแต่ราคาไม่สูง โดยเฉพาะ เทคโนโลยีแบบไทย ๆ หรือพื้นบ้าน ๗. ขย า ยธุรกิจแบบค่ อย เ ป็ น ค่อยไปเมื่อพร้อมทุกด้านเท่านั้น ๘. ล ด ค ว า ม เ สี่ ย ง โ ด ย ก า ร มี ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตลาดที่หลาก หลาย และการลงทุนที่หลากหลาย ๙. แบ่งปัน รวมถึงการแบ่งปัน องค์ความรู้ที่มีเพื่อพัฒนาตลาดอันจะเป็น ผลประโยชน์ที่ดีแก่ผู้บริโภคและสังคม ๑๐. ยึดถือจริยธรรม มีความอดทน และขยันหมั่นเพียร จากที่กล่าวในข้างต้นมีองค์กร ธุรกิจที่ประสบความส� ำเร็จในการน� ำหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในการด� ำเนินธุรกิจคือ บริษัท ปูนซีเมนต์ ไทย จ� ำกัด (มหาชน) ทางบริษัทได้เรียนรู้ ว่าขนาดของธุรกิจ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ไม่ใช่หัวใจส� ำคัญของการด� ำเนินธุรกิจ ประเด็นอยู่ที่การด� ำเนินการที่สอดคล้อง กับศักยภาพขององค์ กร ดังนั้นการ ประเมินเพื่อหาความพอประมาณของ ตนเองจึงเป็นเรื่องส� ำคัญอย่างยิ่ง ต้อง ตรวจสอบทุนทรัพย์ ทุนวัตถุดิบ และทุน บุคลากร พร้อมด� ำเนินการในขอบเขตที่ สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เท่านั้นผลที่ได้คือหลังจากบริษัทปรับ องค์กรให้มีขนาดเหมาะสม พอประมาณ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลับ สามารถท� ำก� ำไรได้สูงสุดกว่าในขณะที่ มีองค์กรขนาดใหญ่แต่ควบคุมได้ไม่เต็ม ศักยภาพ จะเห็นว่าองค์กรธุรกิจจ� ำเป็น ต้องเติบโตและท� ำก� ำไร แต่ควรต้อง ด� ำเนินการบนพื้นฐานของเหตุผล มีการ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมอย่างละเอียด ถี่ถ้วนก่อน โดยไม่มุ่งหวังแต่ก� ำไรสูงสุด หรือฉกฉวยโอกาสอย่างไม่ระมัดระวัง ขาดความรอบคอบ และไม่ใช่หลักเหตุผล เพราะอาจเสี่ยงต่ อความล้ มเหลวใน อนาคต อีกทั้งผลก� ำไรขององค์กรไม่ใช่ จุดมุ่งหมายปลายทางสูงสุด แต่เป็นทาง ผ่านไปสู่ความสุขที่มีร่วมกันของทุกฝ่าย ในสังคม (เครือซีเมนต์ไทย. ๒๕๕๒ : ๙๔) องค์กรธุรกิจถือได้ว่าเป็นส่วน ส� ำคัญในการก่ อให้ เกิดความยั่งยืน ทางเศรษฐกิจ ถ้าธุรกิจของไทย ไม่ว่า ขนาดใด ได้ มีการน� ำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการวางแผน กลยุทธ์และก� ำหนดนโยบาย ก็จะส่งผล ให้ธุรกิจต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถที่จะ ยั่งยืนอยู่ได้ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อม ทางธุรกิจที่นับวันมี แต่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ของการด� ำเนิน งานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังกล่าวนั้น จะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจ และสังคมที่เราอาศัยอยู่ มีการพัฒนา อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=