สำนักราชบัณฑิตยสภา
การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา อย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 612 และตอบสนองผลประโยชน์ที่เป็นธรรม แก่ ผู้ ถือหุ้ นและพนักงานทุกคนใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ทั้งในด้านการผลิตหรือการบริโภค หรือการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ๒. ความมีเหตุผล คือการด� ำเนิน ธุรกิจด้วยสติปัญญา ใช้ความคิดอย่าง รอบคอบด้ ว ยข้ อมูลและ เ หตุผลที่ เหมาะสม ระมัดระวัง ตระหนักต่อการ ไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกได้มาก นักและไม่สามารถมีปัจจัยภายในได้มาก หรือเท่าที่ต้องการให้ความสนใจหรือ ใส่ใจกับผู้ส่วนได้ส่วนเสียทุกคน เช่น พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และประชากรใน อนาคต เห็นคุณค่าหรือความส� ำคัญของ พนักงานในองค์กร มีความรอบคอบ ในการตัดสินใจโดยค� ำนึงถึงผลกระทบ ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล สามารถ บริหารจัดการความสัมพันธ์ของมิติการ ท� ำงานด้านต่าง ๆ เพื่อน� ำไปสู่การเจริญ เติบโตที่มั่นคง (Growth) ของกิจการผลิต สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการสนับ สนุนการท� ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริหารจัดการใช้ประโยชน์จากพลังงาน ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดมี การวางแผนการลงทุน ๓. การมีภูมิคุ้ มกัน คือความ สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยไม่สร้าง เหตุให้เกิดความเสี่ยง ในการบริหารและ ด� ำเนินธุรกิจ สามารถบรรเทาปัญหาหรือ ผลร้ายที่อาจเกิดแก่ธุรกิจโดยสามารถ เตรียมพร้อมต่อโอกาสและความเสี่ยง ต่าง ๆ สามารถปรับตัวอยู่รอดได้เมื่อ มีผลภัยเกิดต่อธุรกิจ แม้พยายามหลีก เลี่ยงหรือป้องกันบรรเทาไว้แล้วก็ตาม มี การจัดท� ำแผนและแนวทางในการพัฒนา พนักงานและครอบครัว โดยมีจุดมุ่งเน้น ในด้ านการสร้ างสุขภาวะที่ดีความ ปลอดภัยในการด� ำรงชีวิตและการสร้าง รายได้เพิ่มขึ้นแก่พนักงานและครอบครัว มีการจัดท� ำโครงสร้างด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนและต่อเนื่องและ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งแสดง ให้เห็นได้อย่างชัดเจน มีการวิเคราะห์ ประสบการณ์ทางธุรกิจและสิ่งแวดล้อม ต่อเนื่องมีการวางแผนการปรับตัวเพื่อ รองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงโลกา- ภิวัตน์ความผันผวนทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ พนักงานในการด� ำเนินกิจการต่าง ๆ ทั้งระดับภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งการให้ความร่วมมือในการท� ำงาน เพื่อสังคมกับหน่ วยงานภาครัฐและ ภาคสังคมอื่น ๆ ๔. มีความรู้ คือความสามารถ คาดการณ์ สามารถตรวจสอบและ ประเมินสถานการณ์ เพื่อเตรียมรับ ประโยชน์จากโอกาส และโทษจากความ เสี่ยงต่าง ๆ ในการด� ำเนินธุรกิจ เน้นการ พัฒนาศักยภาพภายในองค์กรโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการส่งเสริมความรู้และทักษะ ของพนักงานน� ำความรู้และวิชาการ ที่ เป็นประโยชน์มาใช้ในการวางแผนและ บริหารจัดการองค์กร ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ความสมดุล ความยั่งยืน และการพร้อม รับต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรมี การทบทวนความรู้และถ่ายทอดความรู้ ทั้งในระดับหน่วยงานและภายนอกอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดระบบการกระจาย และไหลเวียนของความรู้ในองค์กรส่ง เสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ในหน่วยงาน จัดระบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการ พัฒนาพนักงานในแต่ละระดับ ส่งเสริม กระบวนการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมาประยุกต์ใช้กับพนักงานชุมชน องค์กรธุรกิจและสังคมเปิดโอกาสให้ หน่วยงานภายนอกได้เข้ามาศึกษาและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การด� ำเนินงาน มีโครงการส่งเสริมความรู้แก่พนักงาน ในหน่วยงาน ๕. มีคุณธรรม คือการด� ำเนิน ธุรกิจด้วยคุณธรรมจริยธรรมไม่เบียดเบียน ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเอง และไม่ เบียดเบียนธุรกิจของผู้อื่น มีการปฏิบัติ ต่อผู้เกี่ยวข้อง ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ ต่อสังคมส่วนรวม ส่งเสริมกระบวนการ พัฒนาบุคลากรทั้งด้ านคุณภาพและ คุณธรรม มีสัมมาอาชีวะ มีความซื่อสัตย์ และมีความขยันหมั่นเพียรในการท� ำงาน มีหลักการและจริยธรรมที่ดีทางธุรกิจ ส่งเสริมคุณธรรมและศาสนาแก่พนักงาน มีวิสัยทัศน์ในการมองมนุษย์ในฐานะที่ เป็นมนุษย์มิใช่เครื่องจักรในระบบโรงงาน ที่ขาด ซึ่งคุณภาพชีวิต (อภิชัย พันธเสน, สรวิชญ์ เปรมชื่น, และพิเชษฐ์ เกียรติ ปัญญา. ๒๕๔๖ : ๒๕๙) ได้อธิบายว่า การประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับ ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต้องประกอบด้วย หลัก ๙ ประการต่อไปนี้ ๑. ใช้เทคโนโลยีตามหลักวิชาการ แต่มีราคาถูก ๒. ใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่ าง ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงสุด ๓. เน้นการจ้างงานเป็นหลัก โดย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=