สำนักราชบัณฑิตยสภา
สุวิมล ตั้งประเสริฐ 609 วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๔ จังหวัดนครราชสีมา ได้ก� ำหนด วิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา คือ “ประตูสู่อีสาน ศูนย์กลางการผลิต สินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ผ้าไหม และการท่องเที่ยว” ทั้งนี้ในส่วนของ การท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ได้ จัดท� ำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการ ท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาโดยก� ำหนด เป้าประสงค์ของจังหวัดคือ เพื่อเสริม สร้ างศักยภาพของการพัฒนาจังหวัด สู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจังหวัด นครราชสีมาได้ก� ำหนดกลยุทธ์หลัก ในการพัฒนาการท่องเที่ยวคือ การส่ง เสริมการตลาดการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ ในการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วยการส่ง เสริมให้มีนักข่าวบริษัทน� ำเที่ยวหรือผู้ที่ มีชื่อเสียงน� ำไปขยายผลต่ อเพื่อเป็ น การส่งเสริมการท่องเที่ยว (Fam Trip) ดังนั้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ในพื้นที่ รวมทั้งเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา และ ยุทธศาสตร์ของประเทศ ตามแนวทาง ของหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” จึงเป็นสิ่งจ� ำเป็นที่ท� ำให้การท่องเที่ยวใน จังหวัดนครราชสีมายั่งยืนต่อไป หลักการและแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ที่ชี้แนวทางในการด� ำรงอยู่และการปฏิบัติ ของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ ด� ำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการ พัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึง ความจ� ำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน ใ น ตั ว ที่ ดี พ อ ส ม ค ว ร ต่ อ ก า ร มี ผ ล กระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความ ระมัดระวังอย่างยิ่งในการน� ำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการด� ำเนินการ ทุกขั้นตอน และในขณะเดียวกันต้อง เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีความส� ำนึก ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และการให้ มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ด� ำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุล และ พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก ภายนอกได้อย่างดี (สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. ๒๕๔๙ : ๑๐-๑๑) การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียงคือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยค� ำนึงถึงความพอประมาณ ความ มีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และ คุณธรรม ประกอบการวางแผน การ ตัดสินใจและการกระท� ำ (ส� ำนักคณะ กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. ๒๕๔๙ : ๑๑) ซึ่งได้น� ำมา ประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แสดงได้ ดังภาพประกอบ ๑ การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ สวนผัก หวานป่า อ� ำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=