สำนักราชบัณฑิตยสภา
การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา อย่างยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง The Journal of the Royal lnstitute of Thailand Volume 36 No. 4 Oct-Dec 2011 608 แหล่งรายได้และการจ้างงานที่ส� ำคัญของ คนในประเทศ (ชัยวุฒิ ชัยพันธ์. ๒๕๔๒ : ๑๙) เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศ เกษตรกรรม ประชากรทุกภาคส่วนใหญ่ มีอาชีพการเกษตร ซึ่งประเทศไทยเคย ตั้งความหวังไว้ว่าภาคการเกษตรจะเป็น สาขาเศรษฐกิจที่ประเทศไทยมีความ ได้ เปรียบและจะใช้ โอกาสดังกล่ าว สร้ างความกินดีอยู่ดีให้กับเกษตรกร แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับตรงกันข้าม อันเนื่องมาจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ท� ำให้การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ของชุมชนและการผลิตอาหาร มีรายได้ ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ ส่ ง เ สริมก า ร เ กษตร โดยก า รจัดท� ำ โครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro - Tourism) เพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้าง รายได้ให้เกษตรกร และน� ำไปสู่การ พัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านอาชีพการเกษตร และการท่ องเที่ยวไปพร้ อม ๆ กัน นอกจากนี้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรยัง ท� ำให้เกิดขบวนการปรับตัวทางสังคม ในระดับชุมชนกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยน ไปอย่างต่อเนื่อง โดยชุมชนมีส่วนร่วม ในการจัดการท่องเที่ยวมากขึ้น อีกทั้ง ชุมชนและนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาลที่พยายามพัฒนาการ ท่องเที่ยว เพื่อกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน ให้เกิดความยั่งยืน และให้ความส� ำคัญ แก่ชุมชนให้ เข้ามามีส่วนร่วมในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเอง ดังนั้น ในสภาวะที่ชุมชนชนบทหลายแห่ ง ทั่วประเทศก� ำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤต ในด้านของความยากจนและปัญหาความ เสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจึงน่าจะเป็นส่วน หนึ่งในการแก้ปัญหาที่ควรได้รับการส่ง เสริมและสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร คือ การเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ชุมชน เกษตรกรรม สวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ ำต่าง ๆ สถานที่ ราชการ ตลอดจนสถาบันการศึกษาที่มี งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ทางการเกษตรที่ทันสมัย เพื่อชื่นชม ความสวยงามความส� ำเร็จและเพลิดเพลิน ในกิจกรรมทางการเกษตรในลักษณะ ต่าง ๆ ได้ความรู้ประสบการณ์ใหม่ ๆ บน พื้นฐานความรับผิดชอบและมีจิตส� ำนึก ต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่ นั้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาค หนึ่งของประเทศที่มีประชากรยากจน อยู่เป็นจ� ำนวนมาก แต่ก็เป็นภูมิภาคหนึ่ง ที่มีการท่องเที่ยวคุณภาพสูง เนื่องจากเป็น พื้นที่ที่มีทรัพยากรที่มีความหลากหลาย โดยเน้นศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยว ธรรมชาติ การผจญภัย หรือแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตร ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม จากจ� ำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดิน ทางเข้ามาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี ๒๕๕๑ มีนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มาเยือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑๔.๑๕ ล้านคน มากเป็น อันดับ ๓ รองจากจ� ำนวนนักท่องเที่ยว ชาวไทยที่มาเยือนภาคกลาง ๑๖.๒ ล้านคน และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทาง มาประเทศไทย ๑o.๖ ล้ านคน ใน จ� ำนวนนี้มีนักท่องเที่ยวที่มาเยือนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ๖.๘ แสนคน เมื่อพิจารณาเป็นรายจังหวัด พบว่ า จังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทาง เข้ามาท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นจังหวัด หลักของภูมิภาค ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และ จังหวัดชายแดนซึ่งได้แก่ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร และเลย นักท่อง เที่ยวส่วนใหญ่นิยมท่องเที่ยวในจังหวัด นครราชสีมาเป็นอันดับหนึ่ง และรอง ลงมาคือจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และ อุบลราชธานีตามล� ำดับ โดยนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวมาจากทวีป ยุโรป และเอเชีย ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัด นครราชสีมา เป็นศูนย์กลางตลาดการ ประชุมภูมิภาค เป็นประตูสู่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ บุไทรโฮมสเตย์ อ� ำเภอวังน�้ ำเขียว จังหวัด นครราชสีมา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=