สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ ชาลส์ ดาร์วินได้ปฏิวัติการศึกษาธรรมชาติและประวัติศาสตร์ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในโลกนี้อย่าง หาที่เปรียบได้ยากในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ผลงานของดาร์วินเป็นฐานรากส� ำคัญส� ำหรับการวิจัย ชีววิทยาพื้นฐานของนักวิชาการรุ่นต่อ ๆ มาจนเกิดการค้นพบใหม่ ๆ ทั้งด้านซากดึกด� ำบรรพ์ ด้านสัตว์และ พืช รวมทั้งจุลินทรีย์ ตลอดจนการวิจัยในสาขาใหม่ คือ นิเวศวิทยาและพันธุศาสตร์ ทั้งในระดับประชากร และในระดับโมเลกุลของดีเอ็นเอที่ช่วยอธิบายถึงกลไกการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตรวมทั้งที่มาที่ ๑๕๐ ปี ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน * วิสุทธิ์ ใบไม้ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ชาลส์ ดาร์วิน สนใจในประวัติศาสตร์ธรรมชาติตั้งแต่วัยเด็ก ดาร์วินเรียนจบปริญญาตรี ด้านเทววิทยา แต่เขากลับมีความรู้และความช� ำนาญด้านสัตว์ พืช และธรณีวิทยา มากกว่าด้าน อักษรศาสตร์ ในฐานะนักธรรมชาติวิทยา ดาร์วินมีโอกาสดีที่ได้ร่วมเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิล (H.M.S. Beagle) เพื่อส� ำรวจธรรมชาติรอบโลก โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ ท� ำให้เขาได้เก็บ ตัวอย่างพืช สัตว์ และซากดึกด� ำบรรพ์จ� ำนวนมาก รวมทั้งข้อมูลทางธรณีวิทยาตลอดเวลา ๕ ปี (ค.ศ. ๑๘๓๑-๑๘๓๖) ของการส� ำรวจ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการสังเกตต่าง ๆ ดังกล่าว ของเขาก่อให้เกิดฐานคิดทฤษฎีก� ำเนิดของสปีชีส์โดยการคัดเลือกตามธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน อัลเฟรด วอลเลซ นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษได้ศึกษาความหลากหลายของสัตว์และพืชในหมู่เกาะ มาเลย์และอินโดนีเซีย วอลเลซได้พัฒนาแนวคิดขึ้นมาเองเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสปีชีส์คล้ายกับ ทฤษฎีของดาร์วิน ในที่สุดนักธรรมชาติวิทยาทั้ง ๒ คนก็ได้รับเชิญให้เสนอผลการค้นพบทฤษฎี วิวัฒนาการพร้อมกันในที่ประชุมวิชาการของสมาคมลินเนียนแห่งกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๕๘ หลังจากการประชุม ดาร์วินได้ทุ่มเทเวลาและความอุตสาหะให้แก่งานเขียนหนังสือเล่ม ส� ำคัญเรื่อง “ On the Origin of Species by Means of Natural Selection ” ซึ่งตีพิมพ์เป็นรูป เล่มออกเผยแพร่เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๘๕๙ หนังสือ “ The Origin of Species ” นี้มี อิทธิพลอย่างมหาศาลต่อการศึกษาด้านปรัชญา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และความหลากหลายของสิ่ง มีชีวิตจนถึงทุกวันนี้ ค� ำส� ำคัญ : ชาลส์ ดาร์วิน, อัลเฟรด วอลเลซ, วิวัฒนาการ, การคัดเลือกตามธรรมชาติ * ปรับปรุงจากการบรรยายทางวิชาการในที่ประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และดัดแปลงจากบทความ ใน BRT Magazine พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=