สำนักราชบัณฑิตยสภา
นิ พนธ์ ทรายเพชร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 89 จันทรุปราคาเต็มดวง ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ และ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔* บทคัดย่อ จันทรุปราคาเต็มดวง ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เกิดขึ้นในเวลาหลังเที่ยงคืนของวันที่ ๑๕ มิถุนายน จึงตรงกับวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยเริ่มเกิดจันทรุปราคาแบบเงามัวบาง ส่วนเมื่อเวลา ๐๐:๒๓:๐๕ เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเมื่อเวลา ๐๑:๒๒:๓๗ เริ่มเกิดจันทรุปราคา เต็มดวงเมื่อเวลา ๐๒:๒๒:๑๑ สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อเวลา ๐๔:๐๓:๒๒ สิ้นสุดจันทรุปราคา บางส่วนเมื่อเวลา ๐๕:๐๒:๓๕ และสิ้นสุดจันทรุปราคาแบบเงามัวเมื่อเวลา ๐๖:๐๒:๑๕ รวมเวลาเกิด จันทรุปราคาเต็มดวงนาน ๑ ชั่วโมง ๔๐ นาที ๕๒ วินาที ดินแดนที่เห็นจันทรุปราคาตั้งแต่ต้นจนจบ คือ ทวีปแอฟริกา เอเชียกลาง ซึ่งรวมทั้ง ประเทศไทยด้วย ดินแดนที่เห็นตั้งแต่ดวงจันทร์ขึ้น คือ ทวีปอเมริกาใต้ ด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป ดินแดนที่เห็นช่วงดวงจันทร์ตก คือ ทวีปเอเชียด้านตะวันออก ส่วนเอเชียด้านตะวันตก ออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ เห็นจันทรุปราคาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น จันทรุปราคาเต็มดวง ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เกิดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค�่ ำ เดือนอ้าย เริ่ม เกิดจันทรุปราคาแบบเงามัวบางส่วนเมื่อเวลา ๑๘:๓๓:๓๖ เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเมื่อเวลา ๑๙:๔๕:๔๓ เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อเวลา ๒๑:๐๖:๑๖ สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวงเมื่อเวลา ๒๑:๕๗:๒๔ สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนเมื่อเวลา ๒๓:๑๗:๕๘ และสิ้นสุดจันทรุปราคาแบบเงามัว เมื่อเวลา ๐๐:๒๙:๕๗ รวมเวลาเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงนาน ๕๑ นาที ๘ วินาที ดินแดนที่เห็นจันทรุปราคาโดยตลอด คือ ทวีปเอเชียและออสเตรเลีย ดินแดนที่เห็นเมื่อ ดวงจันทร์ขึ้น คือ ยุโรป แอฟริกา ดินแดนที่เห็นช่วงดวงจันทร์ตก คือ อเมริกาเหนือ ค� ำส� ำคัญ : จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน จันทรุปราคาแบบเงามัวบางส่วน * บรรยายในการประชุมส� ำนักวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ หลักการเกิดจันทรุปราคา จันทรุปราคาเกิดขึ้นเพราะดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงาของโลก ซึ่งมีเงามืด (umbra) เป็นรูปกรวย ปลายแหลมทอดไปในอวกาศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ และเงามัว (penumbra) รูปกรวยปลายบานรอบ นิพนธ์ ทรายเพชร ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=