สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 87 สั นทั ด โรจนสุนทร ๑. การส่งเสริมอาชีพทางด้านเศรษฐกิจ ส่วนนี้เป็นสิ่งที่โครงการหลวงได้ท� ำมาตลอด ท� ำให้ชาวเขา โดยทั่วไปมีอาชีพที่ดีในการปลูกพืชนานาชนิด ตั้งแต่ไม้ผล ไม้ดอก จนกระทั่งถึงผัก และ สมุนไพรต่าง ๆ ในที่หลายแห่งสามารถรักษามาตรฐานได้สูง ท� ำให้ได้รับมาตรฐานการยอมรับแบบ Globalgap ๒. การดูแลชุมชนที่เข้มแข็ง งานด้านนี้พบว่าการดูแลประชากรให้สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น มีความส� ำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าชุมชนนั้น ๆ รวมตัวกันได้เป็นอย่างดี มักจะมี ความร่วมมือที่ดีและจัดตั้งเป็นสหกรณ์ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ๓. การดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ในระดับดี รวมไปถึงการฟื้นฟูให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดี ควบรวมไปถึงความสามารถของชาวเขาในเรื่องนี้กับกระบวนการอนุรักษ์ซึ่งจ� ำเป็นจะต้อง มีการแนะน� ำอย่างเข้มงวด เพราะเป็นกระบวนการที่ส� ำคัญอย่างยิ่งแก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้โครงการหลวงอย่างเต็มที่ในการดูแล คนซึ่งเป็นชาวเขาในพื้นที่ให้มีโอกาสพึ่งตนเองได้ พวกเขาจึงพัฒนาพื้นที่ภูเขาให้กลับมาเขียวขจีเต็มไปด้วย ป่าไม้ดังเดิมในบริเวณที่สูงโดยมีความเป็นพื้นที่ป่าอย่างแท้จริง มีวิธีการอนุรักษ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม หากบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปด้วยดีและเหมาะสม ย่อมจะเกิดความพอดีขึ้น ความพอดีดังกล่าว จะต้องรักษาเอาไว้ หากท� ำได้จะเกิดความพอเพียงด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติไม่ถูกท� ำลาย เพราะคน (บางคน) มีส� ำนึกในเรื่องดังกล่าว กิจกรรมของโครงการหลวงจะเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามธรรมชาติมากที่สุดตามรอยพระยุคลบาท.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=