สำนักราชบัณฑิตยสภา

๔๐ ปีมาแล้ว ถ้าไม่มี โครงการหลวง 86 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 พอเพียงในการใช้ธรรมชาติเพื่อการท� ำมาหากิน การอยู่ของเขาบนพื้นที่สูงจะไม่ยั่งยืนอย่างแน่นอน วัฏจักร ของธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และจะต้องปรับตัวให้ได้สมดุลใหม่อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืน งานของเราบนพื้นที่สูงมองสิ่งนี้เป็นส่วนส� ำคัญ และความยั่งยืนในการพัฒนา คือ สิ่งจ� ำเป็นอย่างยิ่ง จนถึงปัจจุบันนี้ เราท� ำงานมาแล้วถึง ๔๐ กว่าปี บนพื้นที่สูง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีศูนย์พัฒนาฯ อยู่ประมาณ ๓๘ ศูนย์ ครอบคลุมพื้นที่ ๓๐๖ หมู่บ้าน มีชาวเขา ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน อยู่ในภาคเหนือตอนบนครอบคลุมพื้นที่ของ ๖ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ล� ำพูน พะเยา ล� ำปาง และแม่ฮ่องสอน ในบรรดาศูนย์ทั้งหมดมีประมาณ ๑๐ กว่าศูนย์ที่ถือว่าก้าวหน้า ศูนย์ที่พัฒนาได้พอสมควร มีประมาณ ๑๐ กว่าศูนย์ และอีก ๑๐ กว่าศูนย์ที่ส่วนมากอยู่ห่างไกล เดินทาง ล� ำบาก และยังต้องพัฒนาให้มากกว่านี้ ในส่วนส� ำคัญที่สุดคือ การปลูกพืชทดแทนฝิ่น ซึ่งโครงการหลวงได้ สร้างความหลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่แต่ละแห่งและได้รับการยอมรับว่าเป็นโครงการเดียวในโลก ที่ประสบความส� ำเร็จในเรื่องนี้ เราจะมีไม้ผลอยู่ประมาณ ๑๕ ชนิด ทั้งไม้ผลเมืองหนาว คือ พีช พลับ ไม้ผล ขนาดเล็ก เช่น สตรอว์เบอร์รี กีวี และไม้ผลค่อนข้างมาทางเขตร้อน เช่น มะม่วง อะโวกาโด ด้านไม้ดอกมี ประมาณ๒๐ ชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นกุหลาบและเบญจมาศ นอกจากนั้น จะเป็นไม้ดอกน� ำเข้าเพื่อดึงความสนใจ จากตลาด ท� ำให้มีความแปลกใหม่ สีสันสวยงาม ส่วนผักและสมุนไพรประมาณ ๖๐ ชนิดมีความ หลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด มีผักกาดหอมห่อเป็นพืชน� ำ ตามด้วยกะหล�่ ำต่าง ๆ และผักใบนานาชนิด สมุนไพรจะเป็นพวก เซส คาโมมาย ฯลฯ ซึ่งน� ำส่งสู่ตลาดระดับบนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้น ก็มีพืชไร่ เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วต่าง ๆ ชา กาแฟ รวมไปถึงปลาเทราต์ ปลาสเตอร์เจียน และกุ้งก้ามแดง ตลาดของโครงการหลวงเป็นตลาดระดับบน โรงแรม และซูเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งการส่งออก และการจัดส่งให้แก่บริษัทการบินไทย และบริษัทการบินอื่น ๆ รูปแบบที่ควรถ่ายทอดของมูลนิธิโครงการหลวง เมื่อมองว่าโครงการหลวงมีรูปแบบที่น่าจะน� ำไปใช้ได้ในที่อื่น ๆ ปัจจุบันทางราชการได้ตั้งหน่วยงาน “วิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง” ขึ้น ในรูปขององค์การมหาชน เพื่อช่วยถ่ายทอดรูปแบบของโครงการหลวงไปใน ที่อื่น ๆ ของภาคเหนือ โดยถือว่ามูลนิธิโครงการหลวงสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ไม่เกินร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ ทั้งหมด รูปแบบของมูลนิธิโครงการหลวงจึงเป็นสิ่งที่สมควรถ่ายทอดและน� ำไปใช้ในพื้นที่สูงอื่น ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบริเวณพื้นที่สูงในเขตประเทศข้างเคียงซึ่งอยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน�้ ำโขง (Greater Mekong Subregion; GMS) ซึ่งมีสภาพเป็นภูเขาที่สลับซับซ้อนเป็นส่วนใหญ่เหมือนภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ต้นแบบ (Model) ของมูลนิธิโครงการหลวงก็คือ เมื่อบูรณาการข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว จะ พบว่าครอบคลุมปัจจัยอยู่ ๓ อย่าง นั่นคือ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=