สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 85 สั นทั ด โรจนสุนทร อยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์นี้ จะ ยั่งยืน มาก ถึงตรงนี้ขอน้อมน� ำพระราชกระแสรับสั่งทั้งหมดเนื่องในโอกาสที่เสด็จพระราชด� ำเนินไป ทรงเยี่ยมคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ซึ่งเราถือว่าเป็น พระราชกระแสดูงานที่ทรงกล่าวถึงกระบวนการต่าง ๆ ของโครงการหลวงไว้ทั้งหมดทุกขั้นตอน “เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้นมีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อจะส่งเสริม และสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้ ของเขาเอง ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึง ให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร สามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัว มีความเจริญได้อีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควร จะช่วย เพราะเป็นปัญหาใหญ่ก็คือ ปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็น ประโยชน์บ้าง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ ฝิ่น ท� ำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการปลูกพืช ฝิ่นและการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งส� ำคัญมากก็คือ ชาวเขาตามที่ รู้เป็นผู้ที่ท� ำการเพาะปลูกโดยวิธีที่จะท� ำให้บ้านเมืองของเราไปสู่หายนะได้ โดยที่ถางป่าและปลูกโดย วิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดี ความอยู่ดีกินดี และ ปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถท� ำโครงการนี้ได้ส� ำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง สามารถที่จะมีความเป็นอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้ รักษาดินให้เป็น ประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก” พืชทดแทนฝิ่นและความยั่งยืน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เมื่อทรงต้องตัดสินพระราชหฤทัยว่าจะเริ่มปฏิบัติโดยเริ่มต่อสู้กับการท� ำลายป่า และการปลูกฝิ่น จ� ำเป็นจะต้องเริ่มต้นด้วยการหาพืชทดแทนฝิ่น ในขณะนั้นภูมิอากาศบนที่สูงไม่เหมือนที่ใด นั่นคือ กลางวันร้อนกลางคืนหนาว และมีความชื้นสูง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งอยู่ตอนหนึ่งว่า “เมื่อเข้าไปในบริเวณหรือเรื่องที่เราไม่รู้ เมื่อไม่รู้เราต้องวิจัย” และนั่นคือหลักปรัชญาที่เราใช้ในการปฏิบัติ คือ การเสาะหาพืชทดแทนฝิ่น โดยเมื่อปลูกแล้วจะต้องเอาไปขายในตลาดให้ได้ ซึ่งแปลว่าของที่ท� ำต้องมีตลาด และเมื่อขายได้จ� ำเป็นต้องมีเงินคืนให้แก่เกษตรกรชาวเขา เพราะความส� ำคัญอยู่ตรงที่มีเงินคืนมา ซึ่งแปลว่า สิ่งที่เราแนะน� ำให้เขาท� ำเป็นส่วนหนึ่งของความส� ำเร็จที่จะเป็นความภาคภูมิใจของทั้งเขาและเรา และจะท� ำให้พวกเขาเชื่อว่า สิ่งที่เราท� ำหรือช่วยเขาให้ท� ำเป็นสิ่งที่ดี ความรู้สึกในการเป็นพวกเดียวกัน เป็นสิ่งที่ส� ำคัญมาก เมื่อเขาเชื่อเรา ก็จะท� ำให้การท� ำงานสะดวกยิ่งขึ้น การเปลี่ยนดังกล่าวซึ่งเป็น นวัตกรรม ที่ส� ำคัญยิ่งที่เกิดแก่ชาวเขา โดยที่เขาได้รางวัลกลับคืนมาในรูปของเงิน ส่วนโครงการหลวงได้ผลลัพธ์ ซึ่งเมื่อท� ำต่อไปเรื่อย ๆ จะท� ำให้เขามีอาชีพและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ถ้าเขาไม่มีความ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=