สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 83 สั นทั ด โรจนสุนทร ไปอย่างสิ้นเชิง ทรงมองเห็นปัญหาอย่างทะลุปรุโปร่ง ทรงมองเห็นความเกี่ยวโยงของปัญหาการปลูกฝิ่น และการตัดไม้ท� ำลายป่า ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อประชาชนคนไทยและพื้นที่ป่าของประเทศ ปัญหา หลักเหล่านี้จ� ำเป็นต้องแก้ไขไปพร้อม ๆ กัน นั่นคือ ความยากจนของชาวเขา การปลูกพืชเสพติด และการตัดไม้ท� ำลายป่า ความยากล� ำบากที่ต้องต่อสู้ในขณะนั้นก็คือ การคมนาคมสิ่งแรกที่ทรง มองเห็นทันทีก็ คือการบูรณาการข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องได้ผลและยั่งยืน สิ่งที่สองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบอย่างชัดเจนก็คือจะต้อง ได้ข้อมูลจากต้นตอ เคยมีรับสั่ง ไว้ว่า “ฉันต้องไปสัมผัสมองเห็นด้วยตาตนเอง เพื่อจะได้รู้ถึงความต้องการของชาวบ้าน” เมื่อ ทรงไปเยี่ยมบ้านแม้ว ดอยปุย ซึ่งอยู่ห่างจากพระต� ำหนัก ภูพิงคราชนิเวศน์ ประมาณ ๑๐ นาที โดย ทางรถ แต่ขณะนั้นต้องเสด็จพระราชด� ำเนินด้วยพระองค์เอง ทรงถามพวกเขาว่า ขายฝิ่นได้เท่าไร เมื่อพวกเขากราบบังคมทูลให้ทรงทราบ พระองค์ท่านก็ทรงถามต่อไปว่า แล้วลูกท้อพื้นเมือง ซึ่ง นิยมเอาไปดองเมื่อยังดิบอยู่ล่ะได้เงินเท่าไร และที่นั่นเองพระองค์ท่านจึงทรงทราบว่า เงินที่พวก ชาวเขาได้รับไม่ต่างกันมากเท่าไรนัก ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชด� ำริว่าถ้า เป็นเช่นนี้ พวกเราน่าจะสู้กับฝิ่นได้ เพราะก่อนหน้านี้เมื่อเสด็จพระราชด� ำเนินไปทรงเยี่ยมโครงงาน ไม้ผลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ห้วยคอกม้าใกล้ ๆ กับพระต� ำหนัก ภูพิงคราชนิเวศน์ ทางมหาวิทยาลัย ต้องการจะหาไม้ผลที่สามารถปลูกแทนป่าไม้ที่ถูกตัดลง เช่น การติดตาต่อกิ่งท้อพันธุ์ดีจากต่างประเทศ บนต้นตอท้อพื้นเมือง ซึ่งปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี เมื่อทรงน� ำทั้ง ๒ เรื่องมาบูรณาการเข้าด้วยกัน จึงทรง มีความคิดที่แยบยลว่า น่าจะคิดใช้การปลูกท้อวิธีใหม่ทดแทนการปลูกฝิ่น จึงจะยังคงรักษาระดับรายได้ ของชาวเขาไว้ได้นอกจากนั้น ไม้ผลยังท� ำหน้าที่เสมือนป่าไม้ดังเช่นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องการ จะท� ำอยู่ในขั้นแรก โครงการที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น คือ “โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” และเน้นที่การ ช่วยชาวเขาโดยตรง ต่อมาเมื่อกิจการขยายขึ้นและครอบคลุมงานหลายประเภทเข้าด้วยกัน จึงเปลี่ยนเป็น “โครงการหลวง” เช่นปัจจุบัน และนี่คือก� ำเนิดของโครงการหลวง ซึ่งถือเป็นพระอัจฉริยภาพในการ บูรณาการ การท� ำให้ความเป็นอยู่ของชาวเขาดีขึ้น ลดการตัดไม้ท� ำลายป่า และเลิกการปลูกฝิ่น โดยหาพืช ทดแทนที่ขายได้ เมื่อรวมเข้าด้วยกันนับว่าเป็นการทรงงานที่มีความแยบยลอยู่เป็นอย่างมาก และท� ำให้ เกิดผลต่อเนื่องในที่สุด สิ่งที่ทรงทราบในขั้นต่อไปก็คือ การท� ำงานประเภทพัฒนาชนบท ไม่ว่าจะเป็นที่สูง หรือที่ต�่ ำ จ� ำเป็นจะต้องใช้เวลา เพราะทรงรู้ว่าจะต้องเปลี่ยนความคิดของคน คือเปลี่ยนความคิดของ ชาวเขาให้เห็นพ้องตามเรา และได้เคยรับสั่งให้ชาวต่างประเทศได้ทราบว่า งานที่ทรงท� ำอย่างน้อยต้อง ๓๐ ปี จึงจะเห็นผล และต้องให้เวลาส� ำหรับงานนี้ ถ้าอยากเห็นผล

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=