สำนักราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ การจัดการทรัพยากรน�้ ำของภาครัฐ ศิริพงศ์ หังษพฤกษ์ ผู้อ� ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และอดีตอธิบดีกรมทรัพยากรน�้ ำ บทคัดย่อ ทรัพยากรน�้ ำมีความส� ำคัญต่อชีวิตเพื่อการอุปโภค บริโภค การผลิตทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคม การผลิตไฟฟ้า การท่องเที่ยว การรักษาวัฒนธรรมประเพณี การรักษา สุขภาพ และการรักษาระบบนิเวศ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรน�้ ำเป็นระบบลุ่มน�้ ำจะช่วยให้สามารถ ประเมินศักยภาพทรัพยากรน�้ ำเพื่อพิจารณาสมดุลน�้ ำเป็นรายพื้นที่ได้ชัดเจน ท� ำให้เห็นว่าประเทศไทย มีปัญหาความมั่นคงของน�้ ำ โดยการขาดแคลนน�้ ำในลุ่มน�้ ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เป็นหลัก มีพื้นที่ชนบทที่เสี่ยงภัยน�้ ำท่วม ๒๗ ล้านไร่ ในขณะที่มีน�้ ำเสียใน ๔ ลุ่มน�้ ำหลัก ปัญหา การบริหารจัดการทรัพยากรน�้ ำทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อประเทศมีการพัฒนามากขึ้น และ ประชากรมีจ� ำนวนมากขึ้น ค� ำส� ำคัญ : ทรัพยากรน�้ ำ, การบริหารจัดการทรัพยากรน�้ ำ การจัดการน�้ ำของประเทศไทยมุ่งเน้นการบริหารจัดการเป็นระบบลุ่มน�้ ำแบบบูรณาการโดย การมีส่วนร่วมของประชาชน ได้มีการประกาศวาระน�้ ำแห่งชาติ วิสัยทัศน์น�้ ำของชาติ นโยบายน�้ ำแห่ง ชาติครอบคลุมการแก้ปัญหาการขาดแคลนน�้ ำ น�้ ำท่วม น�้ ำเสีย และการบริหารจัดการ ได้มีการก� ำหนด ยุทธศาสตร์ แผนงาน และกิจกรรมที่ส� ำคัญ ซึ่งต้องการการสนับสนุนด้านการวิจัย เพื่อการบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน�้ ำธรรมชาติที่มุ่งเน้นการรักษาสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนาแหล่งน�้ ำส� ำรอง การบริหารจัดการระบบชลประทานให้มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน�้ ำนอกเขตชลประทาน/เขตบริการ การมีองค์กร/กลไกที่เหมาะสมในการบริหารจัดการ น�้ ำ การบรรเทาวิกฤตน�้ ำแล้ง น�้ ำท่วม และน�้ ำเสีย และมีระบบพยากรณ์เตือนภัยที่น่าเชื่อถือได้และรวดเร็ว การร่วมมือการจัดการน�้ ำระหว่างประเทศ การบริหารจัดการน�้ ำบาดาลแบบยั่งยืน ตลอดจนการเตรียม การรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การวิจัยการบริหารจัดการน�้ ำ จะมีบทบาทส� ำคัญในการที่จะ สนองนโยบายของรัฐบาลและความต้องการของประชาชนในการบริหารจัดการน�้ ำ และระบบชลประทาน ของประเทศให้มีประสิทธิภาพเป็นธรรมและยั่งยืน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=