สำนักราชบัณฑิตยสภา

น�้ ำกั บภาวะโลกร้อน The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 76 ๓. ชายหาดในที่ต่าง ๆ ของปัจจุบันจะหายไป ๔. มีการเซาะพังของชายฝั่งอย่างรุนแรง ๕. บริเวณชายฝั่งที่ต�่ ำจะมีน�้ ำท่วมขัง ๖. บริเวณปากแม่น�้ ำจะล�้ ำเข้ามาในแผ่นดินประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ๗. แหล่งน�้ ำจืดบริเวณชายฝั่งจะกลายเป็นน�้ ำกร่อย ๘. มีฝนตกชุก พายุ ไต้ฝุ่นและไซโคลนเกิดบ่อยครั้ง ๙. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในบริเวณชายฝั่งจะลดลง ๑๐. ความเป็นกรดของน�้ ำทะเลเพิ่มขึ้น ๑๑. มีการสูญพันธุ์ของสัตว์บางชนิดเพิ่มขึ้น ๑๒. เกิดโรคระบาดเพิ่มขึ้น ๑๓. ผลผลิตทางการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป ประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกประเทศสนใจและได้หยิบยก ขึ้นหารือในการประชุมระดับโลกในโอกาสต่าง ๆ กว่า ๓๐ ปี ที่ผ่านมา โดยจัดให้มีการประชุมภูมิอากาศ โลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวัน ที่ ๑๒ - ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ การประชุมครั้งนี้ถือว่าเป็นการประชุมครั้งแรกที่มีนักวิทยาศาสตร์ ชั้นน� ำของแต่ละประเทศได้เข้าร่วมประชุม โดยเน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มี ต่อมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้แต่ละประเทศให้ความส� ำคัญแก่ภูมิอากาศที่ก� ำลังเปลี่ยนแปลงและ ป้องกันการกระท� ำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์ เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง “แผนงานภูมิอากาศโลก” (World Climate Programme หรือ WCP) ในความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSU และหลังจากนั้นยังได้มีการประชุมอีกหลายครั้งใน ประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศแคนาดา ประเทศอินเดีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอียิปต์ และประเทศ นอร์เวย์ เพื่อกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความส� ำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาก ขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้ก� ำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้ พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือด� ำเนิน การเกี่ยวกับปัญหานี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=