สำนักราชบัณฑิตยสภา
เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต และ สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 75 เป็นต้นเหตุส� ำคัญของการท� ำลายพื้นที่ ก่อปัญหา และสร้างความเดือดร้อนให้คนชายฝั่งซ�้ ำแล้วซ�้ ำเล่า และ ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ศ. ดร.ธนวัฒน์ ยังกล่าวถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นว่า พื้นที่อ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่ปากแม่น�้ ำบางปะกงถึงจังหวัดเพชรบุรี มีชายฝั่งยาวกว่า ๑๒๐ กิโลเมตร ที่ก� ำลังเผชิญปัญหาการ กัดเซาะอย่างรุนแรง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ที่ดินชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยหายไป ๑๘,๐๐๐ ไร่ ยิ่งไปกว่านั้น การ กัดเซาะไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะชายฝั่ง แต่กัดเซาะลึกลงไปที่พื้นผิวทะเลด้วย เราสูญเสียทุกวินาที ๓๐ ปีมานี้ แผ่นดินใต้ทะเลหายไปแล้วประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ไร่ นอกจากนั้น ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของไทยตลอด ๒,๖๐๐ กิโลเมตร ก็ถูกกัดเซาะไปแล้วถึง ๖๐๐ กิโลเมตร ถือว่าผิดปรกติมาก นอกจากนี้ยังพบการ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ โดยหาดโคลนบริเวณชายฝั่งทะเลขณะ ระดับน�้ ำทะเลต�่ ำสุด เหลือ เพียง ๑ กิโลเมตร ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลของพื้นที่มหาชัย เคยมีหาดโคลน ๑ กิโลเมตร เหลือเพียง ๒๕๐ เมตรเท่านั้นส่วน พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล มีอัตราการกัดเซาะ ๖๕ เมตร ต่อปี ถ้าไม่มีมาตรการป้องกันใด ๆ อีก ๑๐ ๕๐ และ ๑๐๐ ปีข้างหน้า แผ่นดินจะหายไป ๑.๓ ๒.๓ และ ๖.๐ กิโลเมตร ตามล� ำดับ ผลกระทบของระดับน�้ ำทะเลที่สูงขึ้นต่อชายฝั่งทะเลของประเทศไทย หากประเมิน เป็นความเสียหายในเชิงมูลค่าทางเศรษฐกิจ พบว่า ความเสียหายรวมของประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๖๔๓ อาจสูงถึง ๗๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยที่ส่วนของการซ่อมเสริมชายหาด (Beach nourishment) เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุด คือประมาณ ๑๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ๑๐ ผลกระทบอื่น ๆ กระบวนการทางสมุทรศาสตร์หลายอย่างอาจจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตตามการเพิ่ม ขึ้นของอุณหภูมิและการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ตัวอย่างเช่น ความถี่และขนาดความแปรปรวนของ ปรากฏการณ์ เอลนิลโญ (El Nino-Southern Oscillation: ENSO) ในมหาสมุทรแปซิฟิก ปรากฏการณ์ อุณหภูมิน�้ ำในมหาสมุทรอินเดีย Indian Ocean Dipole: IOD การเกิดน�้ ำผุดบริเวณชายฝั่งและขอบไหล่ทวีป (Upwelling) คลื่นใต้น�้ ำบริเวณไหล่ทวีป (Internal Wave) แก๊สมีเทนแข็ง (Methane Hydrate) ในชั้น ตะกอนทะเลลึก ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ ระบบนิเวศ การสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพ การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด ส่งผลกระทบต่อ การด� ำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้ง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สุขภาพ เมื่อน� ำหัวข้อดังกล่าวข้างต้นทั้ง ๔ หัวข้อมาพิจารณาคาดการณ์ในอนาคตอีก ๑๐๐ ปีข้างหน้า โลกเราอาจมีการเปลี่ยนแปลง โดยสรุปดังนี้ ๑. อุณหภูมิของอากาศจะสูงขึ้นประมาณ ๓ องศาเซลเซียส ๒. ระดับน�้ ำทะเลจะสูงกว่าปัจจุบัน ๐.๘ เมตร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=