สำนักราชบัณฑิตยสภา
น�้ ำกั บภาวะโลกร้อน The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 74 ละลายของน�้ ำแข็งขั้วโลก และบนภูเขาสูง ๑๐ มีผู้ประมาณไว้ว่า ในอีกประมาณ ๑๐๐ ปีข้างหน้า ระดับน�้ ำ ทะเลเฉลี่ยในมหาสมุทรน่าจะเพิ่มขึ้นเพียงประมาณ ๐.๒-๐.๖ เมตรจากปัจจุบัน นอกจากนี้ คณะกรรมการ วิจัยแอนตาร์กติก กล่าวเตือนในรายงานสรุปเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศและสิ่งแวดล้อม ของแอนตาร์กติก” ว่า โลกจะเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ เพราะน�้ ำแข็งปกคลุมขั้วโลกใต้ละลาย เป็นเหตุให้ระดับ น�้ ำทะเลในราว พ.ศ. ๒๖๔๓ สูงขึ้นอีก ๑.๔ เมตร ส่วนทะเลไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันก็ได้ รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเช่นกัน ข้อมูลวิชาการบ่งชี้ชัดเจนว่า เราก� ำลังเผชิญอยู่กับปัญหาระดับน�้ ำ ทะเลสูงขึ้น ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศบริเวณพื้นที่ชายฝั่งเกือบทั่วประเทศ การกัดเซาะชายฝั่งสร้าง ความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่รอบอ่าวไทย ศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากภาควิชาธรณี คณะ วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้น� ำเสนอการเปลี่ยนแปลงระดับน�้ ำทะเลของประเทศไทยและ ของโลก ในหัวข้อ “สภาวะโลกร้อน...ผลกระทบต่อประเทศไทยและทางออก” ในงานประชุมวิชาการ ครั้ง ที่ ๔๘ ประจ� ำปี ๒๕๕๓ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒ ว่า วิวัฒนาการเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิด ขึ้นเพื่อท� ำให้เกิดสมดุลของธรรมชาติ สิ่งที่เราพบเห็นในปัจจุบันเป็นผลผลิตจากกระบวนการที่ต่อเนื่องจาก อดีต ผลการตรวจสอบทางธรณีวิทยาพบว่า เมื่อ ๑.๕ แสนล้านปีที่แล้วภาวะโลกร้อนเคยเกิดขึ้น ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน�้ ำทะเล พื้นที่ที่เป็นประเทศไทยเคยมีระดับน�้ ำทะเลท่วมชายฝั่งจนถึงเขต จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอ่างทอง จากนั้นโลกเข้าสู่ยุคน�้ ำแข็งและได้ทิ้งร่องรอยการเปลี่ยนแปลงระดับ น�้ ำทะเลไว้ในพื้นที่อ่าวไทย นอกจากนี้ เมื่อ ๖,๐๐๐ ปีก่อน ยังมีหลักฐานบ่งชี้ว่า น�้ ำทะเลในอ่าวไทยเคย เหือดแห้งและมีน�้ ำท่วมถึงจังหวัดอยุธยา และหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่หาได้จากชั้นหินบ่งบอกว่า ชายฝั่งแม่น�้ ำ ท่าจีน เมื่อ ๑.๕ หมื่นปีที่แล้ว มีระดับน�้ ำทะเลขึ้นเร็วที่สุดประมาณ ๑๖-๒๖ มิลลิเมตรต่อปี เคยเกิดน�้ ำท่วม สูงกว่า ๑๐๐ เมตร ส่งผลกระทบให้เส้นทางน�้ ำเปลี่ยนแปลง มีน�้ ำทะเลรุกเข้ามาถึง จังหวัดอยุธยา และ จังหวัดอ่างทอง ไม่ต้องพูดถึงกรุงเทพมหานครที่จมอยู่ใต้น�้ ำในยุคนั้น ซากหอยจ� ำนวนมหาศาลที่ ทับถมกัน ณ วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี เป็นหลักฐานแสดงถึงสภาพแวดล้อมดั้งเดิมได้ดี สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ ๖,๐๐๐ ปีที่แล้ว คือ อุณหภูมิและระดับน�้ ำทะเลที่สูงกว่าปัจจุบันนี้ นี่คือสภาพการณ์ที่เราไม่เคยเห็น เพราะช่วงอายุ ของมนุษย์สั้น ขณะที่วิวัฒนาการชายฝั่งมีกาลเวลากว่าล้านปี สภาพพื้นที่อ่าวไทยในปัจจุบันมีแม่น�้ ำส� ำคัญ ๔ สายไหลลงสู่ทะเล ได้แก่ แม่น�้ ำแม่กลอง บางปะกง เจ้าพระยา และท่าจีน ศ. ดร.ธนวัฒน์ ได้ศึกษาการ เปลี่ยนแปลงระดับน�้ ำทะเลสัมพัทธ์ในปัจจุบัน พบว่า เกิดความเปลี่ยนแปลงของระดับน�้ ำทะเลที่สูงขึ้นทุกปี คือระดับน�้ ำทะเลสูงขึ้นเฉลี่ย ประมาณ ๔๒.๐ ๒๐.๕ ๑๕.๐ และ ๔.๐ มิลิเมตรต่อปี ที่สถานีวัดระดับ น�้ ำ ปากแม่น�้ ำท่าจีน สถานีป้อมพระจุลจอมเกล้า สถานีปากแม่น�้ ำเจ้าพระยา และ สถานีบางปะกง ตาม ล� ำดับ ตัวเลขดังกล่าวล้วนแต่เป็นตัวเลขที่สูงกว่าการเปลี่ยนแปลงระดับน�้ ำทะเลสัมพัทธ์ในอดีตมาก ระดับ น�้ ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยไปทั่ว โดยเฉพาะปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=