สำนักราชบัณฑิตยสภา
เปี่ยมศั กดิ์ เมนะเศวต และ สั นทั ด ศิ ริ อนั นต์ไพบูลย์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 71 การทรุดตัวมากกว่า ๑๐ เซนติเมตรต่อปี แต่เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการป้องกันต่าง ๆ ท� ำให้ ปัจจุบันนี้มีอัตราการทรุดประมาณ ๑-๔ เซนติเมตรต่อปี ๔ ถือเป็นข่าวดี แก๊สเรือนกระจก ๕, ๖, ๗ แก๊สเรือนกระจก คือ แก๊สที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้น จากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิว โลกเอาไว้ แก๊สเรือนกระจกที่ส� ำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม ได้แก่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ไอน�้ ำ ๕ โดยเฉพาะ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแก๊ส เรือนกระจกที่ส� ำคัญ และมีปริมาณมากที่สุด เกิดจากกระบวนการเผาไหม้เป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จาก การปฏิวัติอุตสาหกรรมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๙๓ เป็นต้นมา ท� ำให้มีการน� ำพลังงานจากฟอสซิล (Fossil Fuel) เช่น ถ่านหิน น�้ ำมัน ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอนมาใช้เป็นจ� ำนวนมาก ท� ำให้เกิดการปลดปล่อยแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ปริมาณแก๊สนี้เพิ่มขึ้นจาก ๒๗๐ ส่วนในล้านส่วน (พีพีเอ็ม : ppm) ใน ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๒๙๓ เป็น ๓๖๐ ส่วนในล้านส่วน ในปัจจุบัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น ๒ เท่า ๗๐๐ ส่วนใน ล้านส่วน ภายใน พ.ศ. ๒๖๔๓ ๘ ภาวะเรือนกระจก ๕, ๖, ๗ ภาวะเรือนกระจกคือภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลก โดยเฉพาะบรรยากาศที่อยู่สูงจากพื้นโลก ประมาณ ๑๐-๑๕ กิโลเมตร (เป็นชั้นบรรยากาศที่มีความหนาแน่นของมวลอากาศสูงสุด คือ ประมาณ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของมวลอากาศทั้งหมด) ท� ำตัวเสมือนกระจกที่ยอมให้แสงอาทิตย์ส่วนของรังสีคลื่นสั้นผ่านลง มายังผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคาย พลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายในชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก เพื่อให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก แต่มีแก๊สบางชนิดที่เรียกว่าแก๊สเรือนกระจกสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ มากเกินสมดุล แก๊สเหล่านี้สามารถดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรด และคายพลังงานความร้อนได้ดี ส่ง ผลให้พื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น ดังแสดงในรูปที่ ๑
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=