สำนักราชบัณฑิตยสภา

น�้ ำกั บภาวะโลกร้อน The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 70 ภาวะโลกร้อน ส่งผลให้ภาคกลางของประเทศไทยจะจมอยู่ใต้ทะเล ดร.อาจอง ยังได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ภายใน ๖ ปี รัฐบาลควรต้องเริ่มคิดเรื่องย้ายเมืองหลวงได้แล้ว และเมืองหลวงใหม่ควรตั้งอยู่สูงกว่าระดับ น�้ ำทะเล ๔๐-๕๐ เมตร นอกจากนี้ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอ� ำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติ แห่งชาติ ยังได้ประกาศเตือนไว้ก่อนหน้านี้ว่า อาจเป็นไปได้ที่จะเกิดสตอมเซิร์จ (Storm Surge) หรือ คลื่น พายุหมุนบริเวณชายฝั่งทะเล เพราะปัจจุบันธารน�้ ำแข็งขั้วโลกละลายตัวอย่างรวดเร็ว ท� ำให้ระดับน�้ ำทะเล สูงขึ้น โลกของเราเต็มไปด้วยน�้ ำถึง ๓ ใน ๔ ส่วน ครึ่งหนึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งผลให้น�้ ำหนักของโลก ไม่เท่ากัน เปลือกโลกจะเริ่มเคลื่อนไหว จะเกิดเหตุแผ่นดินไหวมากขึ้น โดยเฉพาะตามรอยต่อของเปลือก โลก ทะเลอันดามัน ประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ศ. ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ๒ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระดับน�้ ำทะเลสัมพัทธ์ในปัจจุบันว่า ระดับน�้ ำทะเลบริเวณอ่าวไทยเปลี่ยนแปลงสูง ขึ้นทุกขณะ โดยมีข้อมูลสนับสนุนจากการตรวจวัดระดับน�้ ำทะเลที่บริเวณปากแม่น�้ ำทั้งสี่ พบว่า ระดับน�้ ำ ทะเลสถานีปากแม่น�้ ำท่าจีน สถานีป้อมพระจุลจอมเกล้า สถานีปากแม่น�้ ำเจ้าพระยา และสถานีปากแม่น�้ ำ บางปะกง สูงขึ้น ๔๒.๐ ๒๐.๕ ๑๕.๐ และ ๔.๐ มิลลิเมตรต่อปี ตามล� ำดับ ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับ รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนปลงภูมิอากาศ : ไอพีซีซี (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ว่า ระดับน�้ ำทะเลของโลกเพิ่มสูงขึ้น ๓ มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตเมื่อประมาณ ๑๕๐ ปีที่ผ่านมา ระดับน�้ ำทะเลทั่วโลกสูง ขึ้นเพียง ๑.๒-๑.๘ มิลลิเมตรต่อปี ๓ นอกจากนี้ กรมทรัพยากรธรณีของประเทศไทยยังได้รายงานเพิ่มเติม ว่า จากการตรวจติดตามระดับน�้ ำทะเลบริเวณอ่าวไทย พบว่า ระดับน�้ ำทะเลบริเวณอ่าวไทยสูงขึ้นถึง ๕.๘ มิลลิเมตรต่อปี ระดับน�้ ำทะเลที่สูงขึ้นดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยไปทั่ว โดยเฉพาะ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเป็นต้นเหตุส� ำคัญแห่งการท� ำลายพื้นที่ ก่อปัญหา และสร้างความเดือดร้อนให้ แก่คนชายฝั่งซ�้ ำแล้วซ�้ ำเล่า และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ จากผลการส� ำรวจ พบว่า ชายฝั่งทะเล ของประเทศไทยตลอดแนว ๒,๖๐๐ กิโลเมตร ถูกกัดเซาะไปแล้วถึง ๖๐๐ กิโลเมตร ซึ่งถือว่าผิดปรกติมาก ส่วนพื้นที่บริเวณอ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่ปากแม่น�้ ำบางปะกงถึงจังหวัดเพชรบุรี มีชายฝั่งยาวกว่า ๑๒๐ กิโลเมตร ที่ก� ำลังเผชิญปัญหาการกัดเซาะอย่างรุนแรงนั้น จากผลการส� ำรวจ พบว่า ประมาณ ๓๐ ปีที่ ผ่านมา ที่ดินชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย บริเวณดังกล่าวหายไป ๑๘,๐๐๐ ไร่ ยิ่งไปกว่านั้น การกัดเซาะไม่ ได้เกิดขึ้นเฉพาะชายฝั่งทะเลเท่านั้น แต่กัดเซาะลึกลงไปที่พื้นผิวทะเลด้วย โดย ๓๐ ปีที่ผ่านมา แผ่นดินใต้ ทะเลหายไปแล้วประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ ไร่ อนึ่ง สาเหตุหลักอีกประการหนึ่งที่ท� ำให้ระดับน�้ ำทะเลของประเทศไทยสูงขึ้น นอกจากปัญหา ภาวะโลกร้อนแล้วนั้น คือ ปัญหาแผ่นดินทรุดของประเทศไทย ในปี ๒๕๒๗ พื้นที่กรุงเทพมหานครมีอัตรา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=