สำนักราชบัณฑิตยสภา

มงคล เดชนคริ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปี่ที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 61 สถานการณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลก หลังอุบัติภัยฟุกุชิมะ มงคล เดชนครินทร์ ราชบัณฑิต ส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ บทความนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก หลังจากเกิดธรณีพิบัติภัยสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งท� ำให้โรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ที่เมืองฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่นได้รับความเสียหายและเกิดการรั่วไหลของ กัมมันตภาพรังสี ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยจ� ำนวนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศต่าง ๆ และรายชื่อประเทศที่แสดงเจตนาว่า จะด� ำเนินโครงการพลังงานนิวเคลียร์ต่อไปหรือจะยกเลิก โครงการ ค� ำส� ำคัญ : โรงไฟฟ้า, พลังงานนิวเคลียร์, อุบัติภัย, ฟุกุชิมะ ความน� ำ รัฐบาลไทยมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ด� ำเนินการ ให้ส� ำเร็จเสร็จสิ้นลงไป ในส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน มีผู้สนใจโครงการดังกล่าวอยู่บ้าง ดังจะเห็นได้จากการที่ราชบัณฑิตท่านหนึ่งในส� ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน เคยเสนอให้รัฐบาล ใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานทางเลือกอย่างหนึ่งในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อการพัฒนาประเทศ (ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ๒๕๓๖: ๔) และราชบัณฑิตอีกท่านหนึ่งในส� ำนักเดียวกันได้เคยน� ำเสนอสรุปผลการ สัมมนาของสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เรื่อง โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (ปณต มิคะเสน ๒๕๓๗: ๒๗) ผู้นิพนธ์บทความนี้ ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของส� ำนักวิทยาศาสตร์เช่นกัน เห็นสมควรสืบต่อความสนใจในโครงการพลังงานนิวเคลียร์ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเกิดอุบัติภัย ที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เมืองฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงที่เกิดธรณีพิบัติภัยสึนามิในประเทศนั้น เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่คนทั่วโลกสนใจ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=