สำนักราชบัณฑิตยสภา

การศึ กษาความเป็นไปได้ของการสร้างโรงผลิ ตกระแสไฟฟ้าพลั งน�้ ำ The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 58 ออกค่าใช้จ่ายเป็นจ� ำนวนร้อยละ ๑๐ ของค่าก่อสร้างทั้งหมด ดังนั้น หากโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ภาครัฐ อันได้แก่ ส� ำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นออกค่าใช้จ่ายเพียงร้อยละ ๑๐ ของวงเงินค่าก่อสร้างทั้งหมด องค์การบริหารส่วนต� ำบลวังหมีสามารถจ� ำหน่ายกระแสไฟฟ้า และคืนทุนได้ภายในเวลา ๔ ปี (มีก� ำไรใน ปีที่ ๕) ๕. บทสรุป โครงการมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนก่อสร้าง กล่าวคือสามารถประหยัดค่าก่อสร้างฝายที่มีมูลค่า ถึง ๑๒ ล้านบาท โครงการนี้ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากเจ้าของพื้นที่รอบโครงการ คณะผู้บริหาร องค์การบริหารส่วนต� ำบล และประชาชนในพื้นที่ จนท� ำให้องค์การบริหารส่วนต� ำบลมีความยินดีที่จะ ร่วมมือกับโครงการนี้ต่อไปในอนาคต ด้วยข้อจ� ำกัดด้านพื้นที่และความจุน�้ ำในฝาย โครงการนี้สามารถ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมาก คือประมาณ ๑๐ กิโลวัตต์ (คิดเป็นพลังงานไฟฟ้ารายปี ๐.๕๐๖ ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง) เมื่อประเมินเงินลงทุนทั้งหมด (ไม่รวมค่าก่อสร้างฝาย ๑๒ ล้านบาท) พบว่าใช้เงิน ลงทุนเพียง ๖.๖๗ ล้านบาท และสามารถขายไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ ๐.๑๙ ล้านบาท (เมื่อคิดราคาขายไฟฟ้า เท่ากับ ๔.๕ บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง) ระยะเวลาคืนทุนมีค่าสูงกว่า ๓๐ ปี อัตราส่วน B/C มีค่าต�่ ำกว่า ๑.๐ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่มีความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาความคุ้ม ทุนขององค์การบริหารส่วนต� ำบลวังหมี ซึ่งจะลงทุนในวงเงินร้อยละ ๑๐ ของมูลค่าก่อสร้างทั้งหมด และงบ ลงทุนส่วนอื่นได้รับการสนับสนุนจากจากหน่วยงานอื่น เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และส� ำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โครงงานนี้จัดว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (สามารถคืนทุนได้ในเวลา อันสั้น) ส� ำหรับองค์การบริหารส่วนต� ำบล กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากส� ำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ งบประมาณประจ� ำ ปี ๒๕๕๓

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=