สำนักราชบัณฑิตยสภา

การศึ กษาความเป็นไปได้ของการสร้างโรงผลิ ตกระแสไฟฟ้าพลั งน�้ ำ The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 52 การศึกษาศักยภาพและพัฒนาพลังน�้ ำขนาดเล็กเพื่อการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ลุ่มน�้ ำมูล โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (๒๕๕๑) และ Kosa et al (๒๐๑๑) พบว่าโครงการที่มีศักยภาพในการ ผลิตไฟฟ้าในลุ่มน�้ ำมูลมีทั้งหมด ๓๕ โครงการ ในจ� ำนวนนี้มี ๒๔ โครงการเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน�้ ำ ของกรมชลประทาน โดยสามารถผลิตไฟฟ้าในรูปแบบของการกักเก็บน�้ ำ (Reservoir scheme) และ ๑๑ โครงการ ที่พบใหม่และสามารถผลิตไฟฟ้าในรูปแบบของการผันน�้ ำ (Run-off-river) จากข้อมูลเบื้องต้นพบ ว่าโครงการคลองไผ่ ตั้งอยู่ บ้านพยุงมิตร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีความเหมาะสมที่จะน� ำมาเป็นโครงการ ต้นแบบส� ำหรับการพัฒนาพลังงานน�้ ำขนาดเล็ก เพื่อผลิตไฟฟ้าในลุ่มน�้ ำมูล เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับชุมชน และ ไม่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวน งานวิจัยนี้จะท� ำการศึกษาความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างละเอียด ออกแบบโรงผลิตกระแสไฟฟ้า รวมทั้งค� ำนวณความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ ๑. ที่ตั้งโครงการ สภาพพื้นที่ของต� ำบลวังหมีเป็นพื้นที่ภูเขาและพื้นที่ลาดชัน สูงจากระดับน�้ ำทะเลปานกลาง ประมาณ ๔๐๐ ถึง ๘๐๐ เมตร มีพื้นที่ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๔.๔ ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่เนินเขามีลักษณะเป็นเนินดินสูงต�่ ำสลับกันไป ความสูงเฉลี่ยประมาณ ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ เมตร จากระดับ น�้ ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๘,๘๖๐ ไร่ หรือร้อยละ ๘.๑ ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ราบสูง มี ความสูงเฉลี่ย ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ๑,๘๗๐ ไร่ หรือร้อยละ ๑.๕ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตบ้าน ยุบอีปูน หมู่ที่ ๔ ต� ำบลวังหมี และพื้นที่น�้ ำประมาณ ๑,๕๒๒ ไร่ หรือร้อยละ ๑.๓ องค์การบริหารส่วนต� ำบลวังหมี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอ� ำเภอวังน�้ ำเขียว ห่าง จากอ� ำเภอวังน�้ ำเขียวเป็นระยะทางตามถนนสาย กม. ๗๙-ปากช่อง ประมาณ ๓๕ กิโลเมตร และอยู่ทาง ทิศใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทางประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร โดยมีที่ท� ำการ อยู่ที่บ้านคลองสะท้อนหมู่ที่ ๕ ต� ำบลวังหมี เนื่องจากส� ำนักชลประทานที่ ๘ กรมชลประทาน ได้ด� ำเนินโครงการสร้างฝาย ณ บ้านโคกสันติสุข ต� ำบลวังหมี อ� ำเภอวังน�้ ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้ชื่อโครงการ “โครงการจัดหาแหล่งน�้ ำและเพิ่ม พื้นที่ชลประทาน ฝายคลองไผ่” โดยได้เริ่มก่อสร้างฝายเพื่อเก็บกักน�้ ำตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ด้วยงบประมาณก่อสร้างโดยประมาณ ๑๒ ล้านบาท ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงตัดสินใจเลือกสร้างโรงไฟฟ้าพลังน�้ ำขนาดเล็กในบริเวณนี้ เพื่อจะได้ผัน น�้ ำจากฝายมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างฝายหรือท� ำนบในการ เก็บกักน�้ ำ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=