สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 47 ปริ ญญา จิ นดาประเสริ ฐ และคณะ งบประมาณซึ่งถือเป็นความพร้อมที่ส� ำคัญอย่างยิ่ง และจากการวิเคราะห์ MDCM ทางคณะผู้วิจัยจึงได้ เลือกเอาโครงการล� ำชีลอง-๔ มาพัฒนาโครงการน� ำร่อง (ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน, ๒๕๕๔) ๔.๒ ผลการออกแบบและวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เชิงลึกของโครงการน� ำร่อง เมื่อพิจารณา ออกแบบโครงการน� ำร่องในเชิงลึกพบว่า มีศักยภาพสูงถึง ๖๐ kW และเมื่อน� ำผลการออกแบบไประดม ความคิดเห็นร่วมกับชุมชนในประเด็นที่ตั้งที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ และมีความ คุ้มทุนในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยชุมชน อบต.ห้วยต้อน และอุทยานแห่งชาติตาดโตน เห็นชอบที่ให้ติดตั้ง เครื่องกังหันน�้ ำขนาด ๔๐ kW และที่ตั้งของอาคารโรงไฟฟ้าอยู่นอกเขตอุทยานและไม่ห่างจากล� ำน�้ ำ ความเห็นจากชุมชนนี้ได้น� ำไปรวมกับความเห็นของคณะผู้วิจัยพบว่า ควรพัฒนาปรับปรุงฝายส� ำหรับ กักน�้ ำให้เป็นทางน�้ ำเข้า (intake) และที่อาคารโรงไฟฟ้าให้ติดตั้งเครื่องกังหันน�้ ำ ๒๐ kW จ� ำนวน ๒ ยูนิต การออกแบบให้ติดตั้งเครื่องกังหันน�้ ำหลายยูนิตเพื่อการผลิตไฟฟ้าให้เหมาะสมกับปริมาณน�้ ำที่มากน้อย ตามฤดูกาล ต้นทุนก่อสร้างของโครงการ ๙.๕ ล้านบาท ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ ๐.๓ ล้านหน่วยไฟฟ้า คิดเป็น ๑๕๔ หลังคาเรือน ๆ ละ ๑๕๐ หน่วยไฟฟ้าต่อเดือน ในกรณีที่จ� ำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ด้วยค่าส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าปกติ (๑.๕๐ บาท) ) มีรายได้ปีละ ๑.๒๕ ล้านบาท ที่อัตราส่วนลดร้อยละ ๕ ได้อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน ๑.๒๔ (เกินกว่า ๑) และคืนทุนใน ๑๘ ปี น้อยกว่าอายุโครงการ (๓๐ ปี) จะเห็นว่า โครงการนี้น่าลงทุนโดยผลประโยชน์ที่จะได้รับมากกว่าทุนที่ลงไปในระยะยาว อนึ่ง หากภาครัฐมีการปรับค่าส่วนเพิ่มฯ เทียบเท่ากับพลังงานลม (๓.๕๐ บาท) จะเห็นว่า รายได้เป็นปีละ ๒.๐๘ ล้านบาท มีค่าอัตราส่วนผลประโยชน์การลงทุนเพิ่มเป็น ๒.๐๗ และคืนทุนใน ๘ ปี ดังนั้น ภาครัฐควรจะ มีการปรับค่าส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าส� ำหรับพลังงานน�้ ำอย่างน้อยให้เท่ากับพลังงานลมดังจะเห็นได้จาก ค่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นมากอันจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการน� ำพลังงานน�้ ำขนาดเล็กมาผลิต กระแสไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น อนึ่ง โครงการน� ำร่องการพัฒนาพลังน�้ ำขนาดเล็กเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ ลุ่มน�้ ำชีนี้สามารถน� ำไปใช้เป็นต้นแบบการเรียนรู้ให้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่ต้องการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน�้ ำ ขนาดเล็กส� ำหรับชุมชนทั่วทั้งลุ่มน�้ ำชีและลุ่มน�้ ำอื่น ๆ ในประเทศไทย และยังเป็นการน� ำแหล่งน�้ ำที่อยู่ภายใต้ ความรับผิดชอบขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานให้ กับประเทศ ๕. สรุปผลการศึกษา การประเมินหาโครงการที่มีศักยภาพในการพัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานน�้ ำขนาดเล็กมากที่มีก� ำลัง การผลิต ๕ kW ขึ้นไป ในลุ่มน�้ ำชีด้วยระบบ GIS พบว่า โครงการที่มีศักยภาพฯ จ� ำนวน ๗๐ โครงการ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=