สำนักราชบัณฑิตยสภา
ไฟฟ้าพลั งน�้ ำ : ผลพลอยได้จากเขื่ อนชลประทาน The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 42 บทสรุป ด้วยปริมาณน�้ ำที่กักเก็บไว้ด้วยเขื่อนของกรมชลประทานทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวมกัน ประมาณ ๑๔,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ ๘๗,๗๐๐ กิโลวัตต์ หรือคิดเป็นหน่วยไฟฟ้าประมาณ ๓๙๐ กิกะวัตต์-ชั่วโมง ในขณะที่เขื่อนทดน�้ ำ/ระบายน�้ ำ จ� ำนวน ๒๑ แห่ง สามารถผลิตไฟฟ้าได้อีกประมาณ ๘๑,๕๐๐ กิโลวัตต์ หรือคิดเป็นหน่วยไฟฟ้าประมาณ ๒๔๕ กิกะ วัตต์-ชั่วโมง และเมื่อรวมกับศักยภาพของเขื่อนขนาดเล็กและอาคารชลประทานอีกกว่า ๓๓,๐๐๐ แห่ง ก็ น่าจะมีก� ำลังการผลิตรวมกว่า ๓๐๐ เมกะวัตต์ น�้ ำเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษในขบวนการผลิต เป็นแหล่งพลังงาน หมุนเวียนที่สามารถน� ำกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่รู้จบ น�้ ำที่ใช้ผลิตไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เมื่อไหล มาถึงเขื่อนเจ้าพระยายังสามารถน� ำไปผลิตไฟฟ้าได้อีก และยังผลิตไฟฟ้าได้อีกครั้งเมื่อไหลผ่านเขื่อนลัดโพธิ์ ก่อนไหลออกสู่อ่าวไทย ซึ่งจะระเหยเป็นไอน�้ ำกลับไปเป็นเมฆ ฝน และน�้ ำท่า ไหลผ่านล� ำน�้ ำเข้าสู่แหล่งกัก เก็บเป็นวัฏจักรเรื่อยไป แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปริมาณน�้ ำท่ารวมทั่วประเทศมีมากถึงประมาณ ๒๑๓,๔๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีแหล่งกักเก็บทั้งหมดเพียงประมาณ ๘๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเพียง ๑ ใน ๓ เท่านั้น เอกสารอ้างอิง กรมชลประทาน (๒๕๔๗, กันยายน). โครงการศึกษาจัดท� ำแผนหลักและพัฒนา โครงการไฟฟ้าพลังน�้ ำในเขื่อน และระบบชลประทาน. โดยบริษัท ไทยเอนยิเนียริ่งคอนซัลแตนทส์ จ� ำกัด บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแทนส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จ� ำกัด และบริษัท วายพี คอนซัลแตนท์ จ� ำกัด. . บันทึกข้อตกลง การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน�้ ำขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทาน ระหว่างกรมชลประทาน กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (๒๕๕๐).
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=