สำนักราชบัณฑิตยสภา
ไฟฟ้าพลั งน�้ ำ : ผลพลอยได้จากเขื่ อนชลประทาน The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 37 No. 1 Jan.-Mar. 2012 38 กระทรวงพลังงาน (พน.) มีเป้าหมายที่จะศึกษา ส่งเสริม และสนับสนุนการผลิตพลังงานไฟฟ้า จากพลังน�้ ำท้ายเขื่อน และอาคารชลประทาน ประมาณ ๑๔๐ เมกะวัตต์ ภายในปี ๒๕๖๕ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และด� ำเนินการก่อสร้างงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังน�้ ำท้ายเขื่อนและอาคารชลประทาน และ ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังน�้ ำท้ายเขื่อน และอาคารชลประทานอย่างยั่งยืน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้เข้าด� ำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรง ไฟฟ้าพลังน�้ ำท้ายเขื่อน เช่น ขนาดก� ำลังผลิต ๘๕๐ กิโลวัตต์ ท้ายเขื่อนล� ำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา และมีแผนที่จะด� ำเนินการศึกษา ออกแบบ และก่อสร้างอีก ๒๙ แห่ง รวมก� ำลังผลิตติดตั้ง ๓๔,๔๐๐ กิโล วัตต์ ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เสนอแผนที่จะบรรจุโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลัง น�้ ำขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทาน ทั้งหมดจ� ำนวน ๓๓ เขื่อน รวมก� ำลังผลิตติดตั้ง ประมาณ ๑๓๑,๗๐๐ กิโลวัตต์ ไว้ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ๑๕ ปี โดยในระยะแรกได้ท� ำบันทึกข้อตกลง การพัฒนาโครงการ โรงไฟฟ้าพลังน�้ ำขนาดเล็กท้ายเขื่อนชลประทาน ๖ เขื่อน ระหว่างกรมชลประทานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนนเรศวร เขื่อนแควน้อย และเขื่อนแม่กลอง ทั้งยังได้เข้าศึกษาความเหมาะสมของ โครงการอีก ๖ แห่ง คือ เขื่อนกิ่วคอหมา เขื่อนปราณบุรี เขื่อนพระรามหก เขื่อนราษีีไศล เขื่อนหัวนา และ เขื่อนคลองตรอน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และกรมชลประทาน ตกลงร่วม มือพัฒนาไฟฟ้าพลังน�้ ำขนาดเล็กที่ประตูระบายน�้ ำและอ่างเก็บน�้ ำของกรมชลประทาน กว่า ๓๓,๐๐๐ แห่ง ทั่วประเทศ คาดว่าจะได้กระแสไฟฟ้า ๒๐๐-๓๐๐ เมกะวัตต์ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะท� ำการศึกษา วางแผนหลักให้ครอบคลุมถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าพลังงานน�้ ำขนาดเล็กทั้งแบบ น�้ ำไหลผ่าน (พลังงานจลน์) ส� ำหรับผลิตไฟฟ้าที่ประตูระบายน�้ ำ และแบบพลังน�้ ำ (พลังงานศักย์) ส� ำหรับ อ่างเก็บน�้ ำของกรมชลประทานทั่วประเทศ และ กฟภ. จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา ออกแบบ และ ด� ำเนินการก่อสร้าง รวมทั้งการบริหารจัดการใช้ประโยชน์จากโครงการ โดยคาดว่าจะใช้เป็นต้นแบบของ โครงการสถานีผลิตพลังงานชุมชนของ กฟภ. นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือระหว่างกรมชลประทานกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในโครงการ ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของคลองลัดโพธิ์ ด้านไฟฟ้าพลังน�้ ำและการปรับปรุงคุณภาพน�้ ำ โดยได้ท� ำการ ศึกษาวิจัยจนได้ต้นแบบ กังหันพลังน�้ ำอาศัยพลังงานจลน์จากความเร็วของกระแสน�้ ำไหลขึ้น ๒ แบบ คือ แบบหมุนตามแนวแกน (axial flow) และแบบหมุนขวางการไหล (cross flow) ท� ำการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่อง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=