สำนักราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ ๑. บทน� ำ พลังงานไฟฟ้าที่มีความส� ำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ปัจจุบันปริมาณความต้องการ ใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การผลิตไฟฟ้าต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ในปี ๒๕๕๒ รัฐบาลได้จัดท� ำ แผนพลังงานทดแทนขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ มีการก� ำหนดเป้าหมายที่จะส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนร้อยละ ๑๔.๑ ของพลังงานทั้งหมดประมาณ ๕,๖๐๕ เมกะวัตต์ ในปี ๒๕๖๕ โดยมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังน�้ ำขนาดเล็กและเล็กมากประมาณ ๓๒๔ เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นทางเลือก หนึ่งในการบรรเทาวิกฤติปัญหาน�้ ำมัน แก๊สธรรมชาติ มลพิษ เป็นต้น ประเทศไทยมีแหล่งไฟฟ้าพลังน�้ ำ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น ๓,๐๑๐.๕ เมกะวัตต์ โดยแยกเป็นพลังน�้ ำขนาดใหญ่ประมาณ ๒,๘๘๖.๒ เมกะวัตต์ (๙๖%) และพลังน�้ ำขนาดเล็กประมาณ ๑๒๔.๓ เมกะวัตต์ (๔%) ในส่วนพลังน�้ ำขนาดเล็กจะ อยู่ในความรับผิดชอบของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.) ๓ แห่ง รวม ๖๐.๕ เมกะวัตต์ กรมพัฒนาพลังงาน การจัดการเขื่อนพลังน�้ ำขนาดเล็ก ภัสสร เวียงเกตุ กรรมการตรวจสอบทางวิชาการ ด้านพลังน�้ ำ ส� ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ บทคัดย่อ สภาวการณ์พลังงานปัจจุบันราคาน�้ ำมันมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูง ขึ้นอีกในอนาคตเนื่องจากปริมาณน�้ ำมันดิบในโลกมีอยู่จ� ำกัด จึงควรมีการส่งเสริมการพัฒนาโครงการ เขื่อนพลังน�้ ำขนาดเล็กให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ในชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน นอกจากนั้น ควรมีการปรับรูป แบบการบริหารจัดการโดยการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน�้ ำขนาดเล็กขายเข้าระบบให้การไฟฟ้าส่วน ภูมิภาคเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าให้แก่ชุมชน ทั้งนี้ การบริหารจัดการควร ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการด้วย ทิศทางการพัฒนาไฟฟ้าพลังน�้ ำของประเทศ ควรจะต้องมุ่งเน้นที่จะพัฒนาโครงการพลัง น�้ ำขนาดเล็ก และขนาดเล็กมาก ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ทั้งนี้ การพัฒนาในอนาคตย่อม ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตของประเทศ ตลอดจนมาตรการของรัฐที่จะส่งเสริมและ สนับสนุนให้สิ่งจูงใจแก่ภาคเอกชนที่พัฒนาโครงการเพื่อจ� ำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าให้ มากยิ่งขึ้น ค� ำส� ำคัญ : เขื่อนพลังน�้ ำขนาดเล็ก, การพัฒนาไฟฟ้าพลังน�้ ำ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=