สำนักราชบัณฑิตยสภา
19 ธนพร สุปริ ยศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ เมื่อพิจารณาตามประเภทพื้นที่ป่า โครงการที่มีศักยภาพส่วนใหญ่จะอยู่ป่าประเภท I, III และ V ส� ำหรับพื้นที่ป่าประเภท I จากโครงการที่มีศักยภาพทั้งหมดจากทั้งสองลุ่มน�้ ำจ� ำนวน ๘๓ โครงการ มีโครงการจ� ำนวน ๔๐ โครงการที่อยู่ในเขตพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน�้ ำ 1A 1B โครงการเหล่านี้ให้ก� ำลัง ผลิตรวม ๑๗๐ MW แต่ควรหลีกเลี่ยงการพัฒนาโครงการในพื้นที่ประเภทนี้ เนื่องจากต้องเสนอคณะ รัฐมนตรีขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์ที่ดินก่อน ซึ่งกระบวนการท� ำได้ยากและใช้เวลานาน ส� ำหรับพื้นที่ป่า ประเภทที่ III เขตอุทยานแห่งชาติ มีโครงการจ� ำนวน ๒๓ โครงการ ก� ำลังผลิตรวม ๒๘ MW การพัฒนา โครงการเหล่านี้ต้องด� ำเนินการร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานฯ จึงจะสามารถด� ำเนินการได้ แต่การด� ำเนินการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ดูแล และรักษาอุทยานแห่งชาติ ซึ่งส่งผลให้ไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน�้ ำในอุทยานจะต้องใช้ภายในอุทยานเท่านั้น ส่วนพื้นที่ป่า ประเภทที่ V มีโครงการจ� ำนวน ๖๙ โครงการ ก� ำลังผลิตรวม ๑๙๔ MW การพัฒนาโครงการในพื้นที่ ดังกล่าว ส่วนราชการหรือองค์กรของรัฐสามารถขอใช้พื้นที่ได้ ส� ำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายที่รัฐควรจะต้องมีการด� ำเนินการเชิงอนุรักษ์เพื่อพัฒนาแหล่งน�้ ำควบคู่ กับการพัฒนาพลังงาน มีประเด็นที่ควรพิจารณาดังนี้ โครงการในกลุ่มที่ ๒ ซึ่งเป็นการติดตั้งองค์ประกอบเพื่อการผลิตไฟฟ้าในโครงการชลประทานที่ ก่อสร้างแล้วเสร็จ เป็นกลุ่มที่เหมาะสมกับการพัฒนาไฟฟ้าพลังน�้ ำมากที่สุด เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมน้อย และไม่ติดชั้นคุณภาพลุ่มน�้ ำหรือติดเขตอุทยานฯ โครงการที่มีศักยภาพในการพัฒนาพลังน�้ ำมักอยู่ในพื้นที่ที่ติดข้อจ� ำกัดกฎหมายด้านพื้นที่ แม้ว่า การพัฒนาพลังงานน�้ ำจะมีความส� ำคัญแต่กฎหมายด้านพื้นที่ก็ยังเป็นสิ่งจ� ำเป็นที่ควรจะคงอยู่ การพิจารณา ข้อยกเว้นต่าง ๆ ควรท� ำเป็นรายกรณี รายโครงการ และหากจะมีการอนุญาตให้พัฒนาโครงการในพื้นที่ป่า ควรมีการศึกษาเพื่อก� ำหนดมาตรการในการดูแลและบริหารจัดการอย่างเหมาะสม เช่น หากมีการพัฒนา โครงการไฟฟ้าพลังน�้ ำในอุทยานฯ ควรพิจารณาถึงการผ่อนผันให้มีการน� ำไฟฟ้าที่ผลิตได้เหลือใช้จากการ ใช้ในเขตอุทยานฯ ไปใช้ประโยชน์นอกพื้นที่ได้ ซึ่งไฟฟ้าที่เหลือใช้นี้ควรจะส่งเข้าเชื่อมระบบของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค อันจะก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติโดยส่วนรวม นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ เข้ามาร่วมลงทุนในการพัฒนาโครงการและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโครงการ สร้างความรู้สึกความ เป็นเจ้าของและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ให้ชุมชนรักษ์ป่ารักษ์น�้ ำ และต้องวางแนวทางในการด� ำเนิน การพัฒนาและดูแลโครงการในเชิงอนุรักษ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=