สำนักราชบัณฑิตยสภา

17 ธนพร สุปริ ยศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ พื้นที่ป่าแต่ละประเภทมีระเบียบขั้นตอนในการด� ำเนินการขออนุญาตและข้อจ� ำกัดในการพัฒนา โครงการที่แตกต่างกัน Supriyasilp et al. (2011) ได้สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการดังนี้ ประเภท I โครงการที่อยู่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน�้ ำ ๑ A และ ๑ B จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์ที่ดินเสียก่อน ประเภท II โครงการที่อยู่ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (โซน C ) เอกชนเข้าท� ำประโยชน์ในพื้นที่ ไม่ได้ และการพัฒนาโครงการในพื้นที่ประเภทนี้ต้องจัดท� ำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย ประเภท III โครงการที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ห้ามและไม่มีบทอนุญาตในการพัฒนาโครงการ ในพื้นที่อุทยาน แต่มีข้อยกเว้นตามมาตรา ๑๙ หากกระท� ำโดยพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการ คุ้มครอง ดูแล รักษาอุทยานแห่งชาติ หรือเพื่ออ� ำนวยความสะดวกความปลอดภัยแก่การทัศนาจร การเข้า พักอาศัย และใช้พื้นที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย ประเภท IV โครงการที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามและไม่มีบทอนุญาตในการพัฒนาโครงการ พื้นที่นี้ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากการเข้าไปในพื้นที่นี้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และการด� ำรงชีพของ สัตว์ป่า ประเภท V โครงการที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ส่วนราชการหรือองค์กรของรัฐสามารถ ขอใช้พื้นที่ได้ โดยต้องด� ำเนินการตามมาตรา ๑๓ ทวิ ตามระเบียบกรมป่าไม้ พ.ศ. ๒๕๔๘ ประเภท VI โครงการที่อยู่ในพื้นที่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ สามารถ ด� ำเนินการพัฒนาโครงการในพื้นที่นี้ได้ ตามมาตรา ๕๔ โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๔๙๘) โดย ยื่นค� ำขออนุญาตแผ้วถางป่า จะเห็นได้ว่า ป่าแต่ละประเภทมีข้อก� ำหนดในการด� ำเนินการที่แตกต่างกัน และส่วนใหญ่โครงการ ที่มีศักยภาพมักมีที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตป่าหลายประเภท โดยในลุ่มน�้ ำปิง มี ๓๗ โครงการ และใน ลุ่มน�้ ำวังมี ๑๖ โครงการ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่ามากกว่า ๑ ประเภท รูปที่ ๒ แสดงที่ตั้งโครงการจ� ำแนกตาม ประเภทป่าที่โครงการนั้นตั้งอยู่ เมื่อพิจารณาตามกลุ่มโครงการ โครงการในกลุ่มที่ ๑ ติดข้อจ� ำกัดด้านกฎหมายน้อยที่สุด รองลงมา เป็นกลุ่ม ๒, ๓, ๕, ๔ และ ๖ ตามล� ำดับ โครงการในกลุ่มที่ ๑ ซึ่งเป็นโครงการในล� ำน�้ ำสายหลัก ก� ำลังการ ผลิตค่อนข้างน้อย และต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่กลุ่มที่ ๓ เป็นโครงการที่หน่วยงานอื่นเคยศึกษาไว้ แต่ เป็นโครงการขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าโครงการในกลุ่มอื่น จึงควรพิจารณาโครงการ ในกลุ่ม ๒, ๕, ๔ และ ๖ มากกว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=