สำนักราชบัณฑิตยสภา

วัลลภ สุระก� ำพลธร วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕ 179 คือ มีโครงสร้างวงจรไม่ซับซ้อน สามารถดัดแปลงประยุกต์ง่าย และมีประสิทธิภาพในการท� ำงานดี นักวิจัย จึงน� ำไปประยุกต์หรือต่อยอดได้หลากหลาย ซึ่งสามารถน� ำมากล่าวถึงอยู่ ๓ ลักษณะดังต่อไปนี้ คือ ๓.๑.๑ เป็นอุปกรณ์วงจรพื้นฐานหลัก มีผู้น� ำวงจรสายพานกระแสรูป ๓ (ก) ไปเป็นวงจร พื้นฐานหลักในการออกแบบสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น วงจรคูณความจุไฟฟ้า ( capacitance multiplier ) [๑๖] วงจร V - I scalar [๑๗] วงจรกรองไบควอดที่มีสภาพไวต�่ ำ และเลื่อนค่าความถี่ได้ด้วยวิธี อิเล็กทรอนิกส์ [๑๘] และ น� ำไปประยุกต์เป็นวงจรตามกระแสไฟฟ้า ( current follower ) เพื่อออกแบบ และสร้างเป็นวงจรกรองแอกทีฟที่ใช้วงจรตามกระแสไฟฟ้า [๑๙] Sedef และ Acar ได้น� ำเสนอเซลล์ แบบใหม่ที่ออกแบบโดยใช้วงจร CCII เป็นวงจรพื้นฐาน และใช้ CCII ตามรูปที่ ๔ (ก) เพื่อทดสอบ แนวคิด [๒๐] Filanovsky ได้น� ำเสนอหลักการของวงจรสายพานแรงดันไฟฟ้า ( voltage conveyor ) ที่ปรับปรุง มาจากวงจรสายพานกระแสไฟฟ้า โดยให้วงจรมีสัญญาณเข้าเป็นสัญญาณกระแส และสัญญาณออกเป็น สัญญาณแรงดัน [๒๑] ๓.๑.๒ ต่อยอดให้มีพอร์ตสัญญาณออกหลายพอร์ต กรณีนี้เป็นการดัดแปลงเพิ่มเติมวงจร รูปที่ ๓ (ก) เพื่อให้เหมาะกับการประยุกต์ในงานนั้น ๆ ดังนี้ ก). ปรับเปลี่ยนโดยใช้ทรานซิสเตอร์แบบช่องพี ( p channel ) และดัดแปลงเพิ่มเติม ให้มีสัญญาณออกหลายพอร์ตดังวงจรที่แสดงไว้รูป ๓ (ข) และน� ำไปใช้สร้างและทดสอบ [๒๒] สมบัติของวงจร กรองทุกผลตอบสนองแบบโหมดกระแส ที่สร้างจากวงจรสายพานกระแสไฟฟ้า สร้างเป็นวงจรเลียนแบบ ตัวเหนี่ยวน� ำ [๒๓] สร้างเป็นวงจรการควบคุมแบบ PID และ สร้างเป็นวงจรขยายเครื่องมือวัด [๒๔] เป็นต้น ข). ดัดแปลงให้เป็นวงจรสายพานกระแสที่มีจุดสัญญาณออกคู่ ( dual outputs CCII หรือ DO - CCII ) หรือให้มีกระแส i Z ๒ กระแส คือ กระแส i Z + และ i Z - ดังวงจรตามรูปที่ ๓ (ค) เพื่อออกแบบ วงจรกรองผลตอบสนองหลายแบบโหมดกระแส ที่มีจุดสัญญาณเข้า ๕ จุด และจุดสัญญาณออก ๒ จุด [๒๕, ๒๖] การสังเคราะห์สร้างฟังก์ชันความน� ำเชิงซ้อนอันดับสูง [๒๗] ดัดแปลงให้มีจุดสัญญาณหลายจุด ( multiple outputs CCII หรือ MO - CCII ) ทั้งกระแสบวกและกระแสลบ เพื่อสร้างวงจรกรองโหมดกระแสผลตอบ สนองทุกแบบที่มีจุดสัญญาณเข้าหลายจุด และมีจุดสัญญาณออก ๑ จุด ดังวงจรตามรูป ๓ (ง) [๒๘, ๒๙] โดย การดัดแปลงให้เป็น CCII มีจุดสัญญาณออกแบบคู่หรือแบบหลายจุด เพื่อท� ำให้การออกแบบง่าย และ วงจรใช้จ� ำนวนสายพานกระแสน้อย ค). นอกจากนี้ โดยอาศัยการหลักการแปลงด้วยตัว Nullator และ Norator ได้มี การน� ำส่วนของวงจรสายพานกระแสรูปที่ ๓ (ก) ไปดัดแปลงสร้างเป็น วงจร FTFN ( four terminal floating

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=